ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กทม. แจงนโยบายท่องเที่ยวและ Sky Walk ต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ ท่องเที่ยว

กทม. แจงนโยบายท่องเที่ยวและ Sky Walk ต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ ท่องเที่ยว

จัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศเยือนกรุงเทพฯ ตลอดปี เสริมเศรษฐกิจไทย พร้อมสร้างทางเดินยกระดับตามแนว BTS ป้อนผู้โดยสารเข้าระบบขนส่งมวลชน และลดระยะเวลาเดินเท้าจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งด้วยความปลอดภัย

(30 ส.ค. 54) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ และนางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาอุปสรรคการท่องเที่ยว ของกรุงเทพมหานครในภาพรวม และประเด็นโครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) หรือซุปเปอร์สกายวอล์ก กับนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษานโยบายและติดตามปัญหาอุปสรรคการท่องเที่ยว ในคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยว วุฒิสภา และคณะ ณ ห้องอัมรินทร์ ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า)

กรุงเทพ มหานคร มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วยรูปแบบแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมทางตรงและทางอ้อมผ่านหน่วยงานในสังกัดและความร่วม มือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สสปน. สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผ่านสื่อหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ และการออกบูธนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวในต่างประเทศ ซึ่งเน้นประชาสัมพันธ์ภายใต้แนวคิด กรุงเทพฯ เมืองยิ้ม (Bangkok Smile) ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ด้านอาหาร ด้านการช็อปปิ้ง ด้านสุขภาพ และด้านความคุ้มค่าด้วยคุณภาพและบริการ โดยจัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้มาเที่ยว กรุงเทพฯ ต่อเนื่องตลอดปี เช่น ระบบให้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านคอมพิวเตอร์ Touch Screen บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิต สยาม พร้อมพงษ์ และกองการท่องเที่ยว ถ.พระอาทิตย์ จัดกิจกรรมปิดเทอมเติมประสบการณ์ตลาดน้ำตลิ่งชัน คลองลัดมะยม โครงการจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ โครงการปรับปรุงห้องสุขาวัดสุทัศน์ และร่วมกับภาคเอกชนจัดหาอาสาสมัครคอยให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวใน พื้นที่ต่างๆ เช่น สวนจตุจักร สยาม รวมถึงจัดทำเว็บไซต์ www.bangkoktourist.com

ในส่วนของ Sky Walk เป็น แนวคิดในการช่วยให้ประชาชนเดินเท้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลารอสัญญาณไฟจราจร และได้รับความปลอดภัย คล้ายกับอุโมงค์ทางเท้า ซึ่งสามารถช่วยป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนแบบรางได้มากที่สุดอีก ด้วย ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนในการก่อสร้างตามจุดต่างๆ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งช่วยให้กรุงเทพมหานครประหยัดงบประมาณได้มาก ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมี Sky Walk ระยะทางรวมประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีประชาชนใช้บริการประมาณ 500,000 คน/วัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งเป้าให้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจะเน้นตามแนวรถไฟฟ้า BTS เป็นหลัก รวมถึงบริเวณที่จำเป็นและเกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

ทั้ง นี้ คณะอนุกรรมาธิการศึกษานโยบายและติดตามปัญหาอุปสรรคการท่องเที่ยว ในคณะอนุกรรมาธิการท่องเที่ยว วุฒิสภา ได้ให้กำลังใจในการทำงานแก่คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ย่อท้อต่อกระแส ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจให้ประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชน และหน่วยงานให้มากที่สุด บนพื้นฐานของความถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น