ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครู กทม. เตรียมเฮ รับตกเบิก 13% ปลายเดือน ก.ค. นี้

ครู กทม. เตรียมเฮ รับตกเบิก 13% ปลายเดือน ก.ค. นี้

นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีการปรับเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการครูรวมประมาณ 13% ว่า ขณะ นี้กรุงเทพมหานครได้จัดทำคำสั่งให้ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครได้รับเงิน เดือนเพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดยแบ่งเป็นการปรับขึ้นเงินเดือนและเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยในวันที่ 31 มี.ค. 54 ให้ปรับขึ้นเงินเดือน 8% จากนั้นในวันที่ 1 เม.ย. 54 ปรับขึ้นเงินเดือนตามการเลื่อนขั้นปกติ และปรับขึ้นเงินเดือนเพิ่มอีก 5% หลังจากเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติแล้ว ซึ่งมีข้าราชการครูกรุงเทพมหานครกว่า 15,000 คน ได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นเงินเดือนในครั้งนี้ และคาดว่าข้าราชการครูกรุงเทพมหานครทุกคนจะได้รับเงินตกเบิกทั้งหมดช่วงปลาย เดือน ก.ค. นี้ อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ มีราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2).. 2554 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครู เนื่องจากพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีความเหมาะสม เป็นธรรม และมีความแตกต่างระหว่างรายได้ข้าราชการครูกับข้าราชการประเภทอื่น

กำหนดการกรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

08.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานพิธีถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2554 ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.6 สวนลุมพินี

08.15 น. นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธานในการเดินรณรงค์และเป็นกำลังใจให้ผู้เดินรณรงค์เลือกตั้ง ส.ส. สำนักงานเขตพระนคร ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

09.00 น. นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามลูกเสือ กทม. ณ สนามกีฬา ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุ

10.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานเปิดกิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ส. โค้งสุดท้าย เขตธนบุรี และเขตคลองสาน ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่

11.00 น. นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร รณรงค์ประชาสัมพันธ์เลือกตั้งโค้งสุดท้าย เขตปทุมวัน ณ หน้าหอศิลปวัฒนธรรม กทม.

14.00 น. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมลงนาม MOU พัฒนาบุคลากรบริหารจัดการน้ำ ภาคอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม Board Room 1 ชั้น 3 ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์

15.00 น. นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้งส.ส. ปล่อยขบวนรถรณรงค์เชิญชวนไปเลือกตั้งประกอบด้วย รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง พร้อมนำชม “หน่วยเลือกตั้งที่สวยที่สุด” ณ บริเวณลานจอดรถด้านหน้าศูนย์การค้าเดอะไนน์ เนเบอร์ฮู้ด ถ.พระราม 9 เขตสวนหลวง

บริการเอกซเรย์ปอดเคลื่อนที่ฟรี

บริการเอกซเรย์ปอดเคลื่อนที่ฟรี
พญ.มนทิรา ทองสาริ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า สำนักอนามัยได้จัดหน่วยรถเอกซเรย์ปอดเคลื่อนที่ บริการเอกซเรย์ปอด ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังวัณโรค พร้อมให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ประชาชน ซึ่งมีกำหนด การให้บริการประชาชนตามชุมชนต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกทม. ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. ดังนี้ 1 ก.ค. 54 โรงเรียนวัดอุดมรังสี เขตหนองแขม 5 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 44 เขตหนองจอก 6 ก.ค. 54 วัดมักกะสัน เขตราชเทวี 7-8 ก.ค. 54 สำนักงานเขตจตุจักร 11-12 ก.ค. 54 สำนักงานเขตพญาไท 13 ก.ค. 54 สำนักงานเขตทุ่งครุ 14 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 47 เขตภาษีเจริญ 19 ก.ค. 54 โรงเรียนสตรีวิทยา เขตพระนคร 20 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 54 เขตทุ่งครุ 21 ก.ค. 54 วัดชัยฉิมพลี เขตภาษีเจริญ 22 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 54 เขตทุ่งครุ 25 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 เขตปทุมวัน 27 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 54 เขตทุ่งครุ 28–29 ก.ค. 54 ศูนย์บริการสาธารณสุข 57 เขตประเวศ
ทั้งนี้สำนักอนามัยจะจัดหน่วยเอกซเรย์ปอดเคลื่อนที่ให้บริการแก่ประชาชนตามชุมชนต่างๆ หมุนเวียนทั่วกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องทุกเดือน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 22460302 ต่อ 2764

ชูพื้นที่ผ่อนผันย่านราชประสงค์เป็นจุดเสน่ห์แห่งแรกของกทม.

ชูพื้นที่ผ่อนผันย่านราชประสงค์เป็นจุดเสน่ห์แห่งแรกของกทม.
เปิดโครงการจุดผ่อนผันเสน่ห์กรุงเทพฯ นำร่องเขตปทุมวันย่านราชประสงค์ ชูเสน่ห์ดอกไม้มาลัยบูชา ส่งเสริมการท่องเที่ยวฟื้นฟูเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าขยายผลสู่พื้นที่อื่นทั่วกรุง
(29 มิ.ย. 54) เวลา 17.00 น. ณ บริเวณลานหน้าห้างอัมรินทร์พลาซ่า : นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการจุดผ่อนผันเสน่ห์กรุงเทพ เขตปทุมวัน” ร่วมกับคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ว่าการคัดเลือกพื้นที่จุดผ่อนผันหน้าอาคารโซโก้ บริเวณศาลท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นพื้นที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวและผู้ศรัทธาเลื่อมใสใน “พระพรหมเอราวัณ” ให้เป็นเสน่ห์กรุงเทพฯ นั้น นับเป็นการสร้างเสริมศักยภาพให้กับจุดผ่อนผันให้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น โดยที่แหล่งการค้าแห่งนี้ นับเป็นแหล่งรวมมาลัยบูชาซึ่งเป็นสินค้าหลักในการประกอบการค้า ดังนั้นเสน่ห์กรุงเทพแห่งนี้จึงเป็นแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร และเป็นเรื่องของ “มาลัยบูชา” ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับแหล่งการค้า และพัฒนาจุดผ่อนผันให้มีสภาพที่สวยงาม สะอาดตา และเพิ่มศักยภาพของจุดผ่อนผันให้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น โดยกรุงเทพมหานคร มีนโยบายให้ทุกสำนักงานเขต กำหนดจุดผ่อนผันในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เป็น “เสน่ห์กรุงเทพฯ” ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข 5 ข้อ ประกอบด้วย 1. เป็นจุดผ่อนผัน 2. มีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของย่าน 3. มีประชาชน และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก 4. มีประชาคมผู้ค้าเข้มแข็ง และ 5. มีสภาพภูมิทัศน์ที่เหมาะสม
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า ความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาคม และผู้ประกอบการค้า ณ จุดผ่อนผันหน้าอาคารโซโก้ บริเวณศาลท่านท้าวมหาพรหม ส่งผลให้จุดผ่อนผันที่กำหนดให้เป็นเสน่ห์กรุงเทพฯ เป็นจุดผ่อนผันตัวอย่างตามหลักการ 5 ส. กทม. แบบมีส่วนร่วมอีกด้วย ซึ่งกรุงเทพมหานครจะดำเนินการต่อไปในพื้นที่นำร่อง 4 เขต ประกอบด้วย เขตพระนคร ย่านตรอกข้าวสาร-บางลำพู เขตสัมพันธวงศ์ ย่านเยาวราช เขตราชเทวี ย่านประตูน้ำ และเขตบางรัก ย่านสีลม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและผู้ประกอบการค้าที่จะทำให้จุดผ่อนผันนั้น เป็นจุดผ่อนผันที่เปี่ยมด้วยหลักการ 5ส. กทม. แบบมีส่วนร่วม และสร้างเสน่ห์ให้กับกรุงเทพมหานครต่อไป

กทม. เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี

กทม. เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี
(30 มิ.ย. 54) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ คณะผู้บริหารกลุ่มเขตธนบุรี และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ณ อาคารสำนักการระบายน้ำฝั่งธนบุรี ถ.รัชมงคลประสาธน์ เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำร่วมกับสำนักงานเขตกลุ่มธนบุรี ได้ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี” เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ตลอดจนช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ โดยได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ ไว้ ประกอบด้วย หน่วยเคลื่อนที่เร็ว (BEST) รวม 37 หน่วย รถบรรทุกติดเครนยก 2 คัน รถบรรทุกเทท้าย 2 คัน รถบรรทุกพร้อมเรือเล็ก 1 คัน รถตักหน้าขุดหลัง 1 คัน รถดูดเลน 3 คัน รถงับผักตบชวา 1 คัน รถส่องสว่าง 2 คัน เรือท้องแบน 20 ลำ รถปฏิบัติการจากสำนักป้องกันบรรเทาสาธารณภัย 1คัน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1,200คน พร้อมทั้งระบบสารสนเทศ เพื่อติดตามสภาพฝน ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ระบบเฝ้าระวังน้ำท่วมถนน ระบบเฝ้าระวังน้ำล้นคลอง ซึ่งระบบสารสนเทศต่างๆ จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ “ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี” ตลอดเวลา ทั้งนี้ประชาชนสามารถติตตามข้อมูลข่าวสารจากระบบดังกล่าวทาง Website Twitter และ Facebook ของสำนักการระบายน้ำได้ที่ http://dds.bangkok.go.th http://twiter.com/bkk_best และ http://facebook.com/bkk.best หรือแจ้งปัญหาความเดือดร้อน ขอความช่วยเหลือได้ที่โทร. 0 2248 5115 หรือสายด่วนกทม. 1555 ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรีขึ้น อีกหนึ่งแห่ง นอกเหนือจากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมศรีนครินทร์ที่ได้เปิดดำเนินการไป แล้ว ซึ่งสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในแต่ละแห่งมีสภาพไม่เหมือนกัน โดยพื้นที่ในฝั่งธนบุรีส่วนใหญ่จะเป็นคูคลอง ปัญหาที่เกิดจากน้ำท่วมจึงแตกต่างกัน ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธนบุรี จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งธนบุรีได้เป็นอย่างดี โดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยวัสดุอุปกรณ์และหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (BEST)พร้อมให้บริการประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้ว่าฯกทม. ขันน็อต CCTV ตัวที่ 10,000 เฝ้าระวังภัยให้คนกรุง

ผู้ว่าฯกทม. ขันน็อต CCTV ตัวที่ 10,000 เฝ้าระวังภัยให้คนกรุง
กทม. ติดตั้ง CCTV ตัวที่ 10,000 เฝ้าระวังภัยคนกรุงใกล้ชิด พร้อมเดินหน้าขยายจุดติดตั้งให้ครบ 20,000 ตัวในปี 55 ตรวจตราสิ่งผิดปกติ ดูแลสวัสดิภาพ สร้างความอุ่นใจให้ประชาชน
(30 มิ.ย. 54) เวลา 11.00 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อการจราจรและความปลอดภัย ตัวที่ 10,000 ณ บริเวณลาน Victory Point อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งนับเป็นย่านสำคัญในแหล่งชุมชนอีกแห่งหนึ่ง พร้อมทดสอบการทำงานของกล้องผ่านจอโทรทัศน์ โดยมีคณะผู้บริหารกทม. สื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมงาน
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินงานติดตั้งกล้อง CCTV (Closed Circuit Television) เพื่อเป็นเครื่องมือสอดส่อง เฝ้าระวัง และลดภัยให้สังคมแบบครบวงจร ช่วยลดจุดบอด ปลอดจุดเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัย สร้างความอุ่นใจให้คนกรุงเทพฯและบ้านเมือง โดยมีพื้นที่ติดตั้งครอบคลุมจุดเสี่ยงภัย สถานศึกษา 700 แห่ง ชุมชน ตลาด และสถานที่อันตราย 600 แห่ง โรงพยาบาล และสถานที่สำคัญทั่วกรุงเทพฯ 160 แห่ง รวมจำนวน 10,000 ตัว
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้กรุงเทพมหานครจะเร่งดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อลดจุดเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 20,000 ตัวภายในปี 2555 ครอบคลุมจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง สถานศึกษา ชุมชน ตลาด สถานที่อันตราย โรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข สถานที่ราชการ และอื่นๆ พร้อมบูรณาการกับกล้องวงจรปิดของภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นๆ กว่า 200,000 ตัว เพื่อเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังอันตราย โดยเชื่อมโยงสัญญาณภาพไปยังศูนย์อำนวยการเขต 50 เขต สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ ผ่านเครือข่ายใยแก้วนำแสง แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมบริหารจุดเสี่ยงและระบบความปลอดภัย ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองอำนวยการร่วมพิเศษเฉพาะกิจ
ทั้งนี้กล้อง CCTV ที่ ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ สามารถบันทึกข้อมูลความผิดปกติและนำมาตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็นคดีอาชญากรรมและเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ เสี่ยงภัยและแหล่งชุมชน โดยล่าสุดเหตุการณ์สะเทือนขวัญขณะรถพุ่งชน พ.ต.พญ.หทัยพร อิ่มวิทยา หรือหมอมุก เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา ถูกบันทึกไว้วินาทีต่อวินาทีด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ที่กรุงเทพมหานครติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับกรณีชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย อุบัติเหตุ และเหตุการณ์ทางการเมือง รวมกว่า 650 เหตุการณ์ที่กล้อง CCTV จับภาพไว้ได้ และนำไปสู่การคลี่คลายคดีในที่สุด ภาพจากกล้อง CCTV จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคลี่คลายคดีสำเร็จโดยเร็ว ต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องใช้เวลาสอบสวนและหาพยานหลักฐานเป็นเวลานาน

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กำหนดการกรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554


****************

10.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการเตรียมการเลือกตั้ง หนองแขม/บางบอน/ทวีวัฒนา

ณ ห้องประชุมเขตหนองแขม

11.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานงานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อการจราจรและความปลอดภัยครบ 10,000 ตัว

ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านหลังพงหลีภัตตาคาร

13.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม

ฝั่งธนบุรี

ณ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมฝั่งธน ถ.มงคลรัชประสาธน์ เขตภาษีเจริญ

13.00 น. นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการติดตั้งคอมพิวเตอร์

โรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก

ณ โรงเรียนพระราม 9 เขตห้วยขวาง

14.30 น. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติครบ 130 ปี

ณ ห้องบรรยาย ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม (ภาพนิ่ง)

18.30 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร รณรงค์ประชาสัมพันธ์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง Together We Can We Vote

ณ ลานพาร์ค พารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน

กทม. เดินหน้าโครงการ “84 สายถวายในหลวง”เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง

(29 มิ.ย. 54) เวลา 16.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการ 84 สายถวายในหลวง ณ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน ว่า กรุงเทพมหานครได้จัดทำโครงการ “84 สายถวายในหลวง” เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางถนน และจัดทำสวนแนวตั้งบนถนน 84 สายทั่วกรุงเทพฯ ให้สอดคล้องกับแนวคิด “กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และเป็นการสร้างความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ กว่า 30 แห่ง โดยจะนำร่องบนถนน 24 สาย ในพื้นที่ 10 เขต ได้แก่ เขตบางรัก วัฒนา ยานนาวา สาทร พระโขนง บางคอแหลม คลองเตย ปทุมวัน บางนา และสวนหลวง รวมความยาวทั้งสิ้น 116,599 เมตร หรือประมาณ 106 กิโลเมตร ซึ่งกทม.จะดำเนินการจัดทำสวนแนวตั้งรอบเสาตอม่อรถไฟฟ้า โดยใช้ลวดลายและรูปแบบการจัดสวน จากการประยุกต์รูปทรงเรขาคณิตของไทย เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ความเป็นไทย และปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางถนน โดยเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่ทนทาน มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูง ลำต้นตรงไม่กีดขวางการจราจร และนำระบบน้ำหยดมาใช้ในการให้น้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ ช่วยให้ต้นไม้ได้รับความชุ่มชื้นสม่ำเสมอตลอดวัน เพื่อสร้างระบบนิเวศน์เมืองที่ยั่งยืน (Sustainable Urban Ecology)

ทั้งนี้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวเท่ากับ 4.2 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และกทม. จะเร่งดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น และคาดว่าในอนาคตเมื่อ กทม.ดำเนินงานโครงการ “84 สายถวายในหลวง” เสร็จเรียบร้อย จะทำให้เมืองหลวงของเราเป็นเมืองที่ร่มรื่นเขียวขจี มีสีสัน มีชีวิตชีวา เป็นมหานครที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

วางมาตรการ ก้าวสู่ “กรุงเทพฯ ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า”

ประกาศนโยบายเดินหน้าป้องกันแก้ไขโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพฯ สัญญาณดียังไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม เน้นรณรงค์เข้มต่อเนื่องปี 54 55 ทั่วพื้นที่ ทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดไมโครชิป ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์พักพิงสุนัขเขตประเวศ และทัพทัน จ.อุทัยธานี ลดจำนวนสุนัขจรจัดทั่วกรุง พร้อมกระตุ้นเตือน และส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสัตว์ด้วยความรัก และรับผิดชอบ

(29 มิ.ย. 54) เวลา 09.30 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าว “ก้าวต่อไป สู่เป้าหมายปลอดโรคพิษสุนัขบ้า” ประกาศนโยบายเดินหน้ารณรงค์ป้องกัน และกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย ณ บริเวณสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. เขตดินแดง เพื่อกระตุ้นเตือน และปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการเลี้ยงสุนัขและแมวด้วยความรับผิดชอบ ไม่ปล่อยปละละเลยหรือทิ้งขว้าง นำสุนัขและแมวรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี รวมถึงรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามระยะเวลา รวมถึงฉีดไมโครชิปให้สุนัข กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การแสดงความสามารถของสุนัขจากศูนย์พักพิงสุนัขกรุงเทพมหานคร ชมวิดีทัศน์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและการแก้ไขป้องกันปัญหาสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร สาธิตการฉีดไมโครชิปสุนัข บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำหมันสุนัขและแมวฟรี การสนทนาเรื่อง สัตว์เลี้ยงแสนรักกับดารา โดย แพนเค้ก เขมนิจ ตู่ นพพล และปรียานุช ปานประดับ การเสวนาเรื่อง การเลี้ยงสุนัขอย่างรับผิดชอบ โดย นายแพทย์ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประกาศแนวทางป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปี 54-55

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และเป็นปัญหาของประชาคมทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รณรงค์และกำหนดเป้าหมายที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากทุกภูมิภาคของโลกภายในปี 2563

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกวาดล้างและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงป้องกัน แก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด ในปี 25542555 ดังนี้ ปรับปรุงศูนย์ควบคุมสุนัขจรจัดประเวศ ให้สามารถรองรับสุนัขได้มากขึ้นและถูกสุขลักษณะ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2555 อีกทั้งพัฒนาศูนย์ควบคุมสุนัขจรจัดประเวศ และศูนย์พักพิงสุนัขบ้านกึ่งวิถี อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสุนัข เช่น สายพันธุ์ นิสัย ความสามารถ การเลี้ยงดู เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูสุนัขอย่างเหมาะสม สร้างสวนสุนัข (Dog park) บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ใต้ทางด่วนแยกวัชรพล ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบและทำประชาพิจารณ์ คาดว่าสามารถสรุปผลได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน ขยายพื้นที่การจัดกิจกรรมสัญจร ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั้ง 50 เขต ให้บริการทำหมันสุนัข แมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดไมโครชิป และจดทะเบียนสุนัข ขยายเครือข่ายสถานพักพิงสำหรับสุนัขในชุมชน (Community Shelter) และ ปรับปรุงระบบและกลไกการดำเนินงานของหน่วยสอบสวนควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาแหล่งโรคอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง นำสุนัขที่สัมผัสโรคมากักดูอาการเพื่อตัดวงจรการแพร่โรค เน้นการค้นหาคนที่ถูกสุนัขกัดหรือสัมผัสกับสุนัขที่เป็นโรค เพื่อดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างครบถ้วน

ปี 53 กทม. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเกือบ 284,000 ตัว

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 53 กรุงเทพมหานครพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ารวม 7 ราย และเป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้ ยังไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม ซึ่งในปี 53 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เข้มข้นตลอดปี พร้อมจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าพร้อมกันทั้ง 50 เขต จำนวน 2 ครั้ง รวม 283,893 ตัว และคุมกำเนิดสุนัขที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของด้วยการทำหมัน รวม 29,046 ตัว

จากผลการสำรวจจำนวนสุนัขในเขตกรุงเทพมหานครปี 53 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มีจำนวนสุนัขที่มีเจ้าของกว่า 590,000 ตัว และสุนัขไม่มีเจ้าของ กว่า 100,000 ตัว อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ อาทิ ถนน ตรอก ซอย และวัด 400 แห่ง โดยปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้นำสุนัขจรจัดที่สร้างปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญมาทำหมัน และนำไปเลี้ยงดูจนหมดอายุขัย ที่ศูนย์พักพิงสุนัขทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 5,456 ตัว

วอนประชาชนเลี้ยงสัตว์ด้วยความรัก เอาใจใส่ และรับผิดชอบ

ผู้ ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรุงเทพมหานครเพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถดำเนินงานเพื่อกวาดล้างและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนให้เลี้ยงสุนัขและแมวด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และรับผิดชอบ ก่อนซื้อหามาเลี้ยงต้องศึกษานิสัยใจคอ หรือพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์เลี้ยงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อีกทั้ง มั่นใจว่าสามารถเลี้ยงดูได้จนสัตว์เลี้ยงหมดอายุขัย ไม่ใช่เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายแล้วนำมาปล่อยตามสถานที่ต่างๆ สร้างความเดือดร้อน รำคาญใจแก่ผู้อื่นเป็นปัญหาสังคมต่อไป และขอให้เจ้าของนำสุนัขและแมวไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็น ประจำทุกปีที่คลินิกสัตวแพทย์กรุงเทพมหานครทั้ง 7 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง และหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ตามชุมชนต่างๆ สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัดหรือข่วน ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดมากๆ และรีบไปพบแพทย์ขอรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครทั้ง 68 แห่ง โดยไม่เสียค่าบริการ หากพบสัตว์เลี้ยงสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ให้แจ้ง สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข โทร. 0 2245 3311, 0 2248 7417 หรือ สายด่วน กทม. 1555 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กำหนดการกรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554


เวลา 09.30 น. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าว “กทม.ประกาศก้าวต่อไป สู่เป้าหมายปลอดโรคพิษสุนัขบ้า”

ณ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย เขตดินแดง

เวลา 10.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง ส.ส. “เลือกตั้งมั่นใจไปแน่ 100% ประกาศเจตนารมณ์ข้าราชการกทม.”

ณ อาคารกีฬาเวสน์2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)

เวลา 11.00 น. นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง ส.ส. ในพื้นที่เขตดินแดง ณ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า และโรบินสัน รัชดา

เวลา 16.00 น. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ “84 สาย ถวายในหลวง” ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน

เวลา 17.00 น. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดงานเสน่ห์กรุงเทพฯ

ณ ลานเอนกประสงค์หน้าอาคาร อัมรินทร์ พลาซ่า ถนนเพลินจิต

คืบหน้าแล้ว 90% ศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ

คืบหน้าแล้ว 90% ศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ

(28 มิ.ย. 54) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร

กรุงเทพ มหานคร โดยสำนักการระบายน้ำได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคูคลอง ซึ่งมาตรการระยะสั้นได้ดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองโดยการใช้ระบบนำน้ำดี หมุนเวียนไล่น้ำเสียในคูคลอง เพิ่มค่าออกซิเจนละลายน้ำในคลองให้มีค่าไม่น้อยกว่า 1.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนมาตรการระยะยาวได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพ มหานคร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อยจำนวน 27 พื้นที่ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีระบบบำบัดน้ำเสียที่เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ และโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียประมาณ 992,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับความสามารถในการบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กของการเคหะแห่งชาติ 12 แห่งแล้ว คิดเป็น 40% ของน้ำเสียทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 เขต ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และจะดำเนินโครงการตามแผนอีก 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน และโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย รวมประมาณ 773,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อรวมกับโครงการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดแล้วจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ประมาณ 1,765,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

โครงการ ก่อสร้างศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย 20.7 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ กทม. มีระบบบำบัดน้ำเสียใต้อาคาร มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300-1,800 มิลลิเมตร รวมความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่เขตบางซื่อ และบางส่วนของเขตจตุจักร เขตพญาไท และเขตดุสิต โดยเฉพาะในคลองเปรมประชากร คลองบางเขน และคลองบางซื่อ เป็นการสานต่อการจัดการน้ำเสียที่กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการมาอย่างต่อ เนื่อง ให้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำน้ำที่บำบัดแล้วไปใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้และเติมสระน้ำในสวนวชิรเบญจ ทัศ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และสวนจตุจักร นอกจากนี้จะพิจารณานำไปใช้ล้างทำความสะอาดในบริเวณตลาดนัดจตุจักรต่อไป ปัจจุบันการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียแล้วเสร็จประมาณ 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มทดสอบระบบได้ประมาณปลายปี พ.ศ. 2555

ทำความดีครบ 100 ครั้ง มอบเข็มเชิดชูเกียรติให้ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กว่า 3,500 คน

ทำความดีครบ 100 ครั้ง มอบเข็มเชิดชูเกียรติให้ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กว่า 3,500 คน

(28 มิ.ย. 54) เวลา 09.00 น. นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมส่งเสริมการทำความดี โครงการ 100 ล้านความดี 100 ปีลูกเสือไทย เทิดไท้องค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ พร้อมมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด จากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่บำเพ็ญประโยชน์ครบคนละ 100 ความดี จำนวน 3,500 คน ณ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน

กรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมส่งเสริมการทำความดี ภายใต้โครงการ 100 ล้านความดี 100 ปีลูกเสือไทย เทิดไท้องค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 25554 โดยมีเป้าหมายให้ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 436 แห่ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ร่วมถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทำความดีในรูปแบบต่างๆ คนละ 100 ความดี อีกทั้งเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีลูกเสือไทยในปี 2554 ด้วย

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การทำความดีของลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดนั้นสามารถทำได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำความดีเพื่อตนเอง การทำความดีเพื่อครอบครัว และการทำความดีเพื่อสังคม อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝังให้ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ได้รู้จักความเสียสละ ความอดทน และความเป็นผู้นำ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตต่อไปได้ ทั้งนี้กรุงเทพมหานครจะดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสทำความดีเพื่อสังคมด้วย

เชิญทำข่าว_Together We Can We Vote รณรงค์ประชาสัมพันธ์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส.

ปลัดกรุงเทพมหานครนำทัพดารา นักแสดง และศิลปิน
รณรงค์ประชาสัมพันธ์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส.
(Together We Can We Vote)

ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย.54 เวลา 17.00 น.
ณ ลาน Park Paragon ศูนย์การค้าสยามพารากอน

พบกิจกรรมหลากหลาย อาทิ
· กิจกรรม Star King โชว์สำหรับคนมีดี กับแนวคิดรณรงค์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกับเหล่าศิลปินที่จะมาเป็น Commentator เฉพาะกิจ
· ประชันกองเชียร์จาก 3 สถาบัน ได้แก่ ม.ศิลปากร ม.นอร์ท กรุงเทพ และ ม.เกษมบัณฑิต
· ปราศรัยหัวข้อ “เลือกตั้งได้อะไร ไม่เลือกได้อะไร” (ยอวาที) สไตล์ล้วง ลับ อัพโหวต นำโดย ทีมดีเจคลื่น Zeed (เดย์, เลิฟ, แชมป์) และทีมดีเจ EFM (เชาเชา, โป้ง, อาร์ต)
· มินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน AF และศิลปิน RS

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผู้ว่าฯ กทม. กดปุ่มเชื่อมรางรถไฟฟ้าช่วงตากสิน-เพชรเกษม พร้อมเดินหน้าให้แล้วเสร็จ 5 ธ.ค.55

(28 มิ.ย.54) เวลา 10.00 น. ณ บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง สถานีโพธินิมิตร (S9) : ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ และ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสีลม (ตากสินเพชรเกษม) โดย มี นายวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวรายงานความคืบหน้าและภาพรวมของโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ในขั้นตอนของการวางราง โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 5 ธ.ค.55

โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กดปุ่มเชื่อมรางบริเวณจุดเชื่อมต่อรางระหว่างสถานีวงเวียนใหญ่ (S8) และสถานีโพธินิมิตร (S9) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การเดินรถมีความปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพสูง

โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสีลม (ตากสิน เพชรเกษม) เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟฟ้าเข้าสู่ใจกลางฝั่งธนบุรี ด้วย 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีโพธินิมิตร (S9 ) ตั้งอยู่บริเวณถ.ราชพฤษ์ใกล้วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม เขตธนบุรี สถานีรัชดา-ราชพฤกษ์ (S10) ตั้งอยู่ริเวณใกล้จุดตัดถ.ราชพฤกษ์กับถ.รัชดาภิเษก เขตธนบุรี สถานีวุฒากาศ (S11) ตั้งอยู่บริเวณใกล้จุดตัดถ.ราชพฤกษ์กับถ.วุฒากาศ เขตธนบุรี และสถานีบางหว้า (S12) ตั้ง อยู่บริเวณใกล้จุดตัดถ.ราชพฤษ์กับถ.เพชรเกษม เขตภาษีเจริญ รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.3 กิโลเมตร พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนอย่างบูรณาการด้วยรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT (สายสาทร-ราชพฤกษ์) ที่สถานีรัชดา-ราชพฤกษ์ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) และเรือโดยสารคลองภาษีเจริญที่สถานีบางหว้า นอกจากนี้ยังรองรับการใช้บริการด้วยจุดจอดแล้วจร (Park & Ride) ที่สถานีวงเวียนใหญ่และสถานีรัชดา-ราชพฤกษ์ รวมถึงทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) จากสถานีไปสู่ถนนรัชดาภิเษก-ราชพฤกษ์ และรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT สายสาทร-ราชพฤกษ์) ซึ่งจะสร้างขึ้นในอนาคตเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

กำหนดการกรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

09.00 น. นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรม ร้อยล้านความดี ร้อยปี ลูกเสือไทย

ณ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน

09.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการเตรียมการเลือกตั้งดอนเมือง

ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตดอนเมือง

10.00 . ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบ ขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายสายสีลม (ตากสิน เพชรเกษม)

ณ รถไฟฟ้า BTS สถานีโพธินิมิตร (S9) ถ.สาทร ราชพฤกษ์ เขตธนบุรี

11.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการเตรียมการเลือกตั้งหลักสี่

ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตหลักสี่

14.00 น. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการเตรียมการเลือกตั้งบางบางซื่อ

ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตบางซื่อ

14.00 น. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานตรวจศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ

ณ บริเวณทางลงทางด่วนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร

ทั่วประเทศร่วมสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล

กทม. ร่วมกับมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ จัดพิธีสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมถ่ายทอดสดให้ประชาชนร่วมอนุโทนาบุญใน 6 ทวีปทั่วโลก

(25 มิ.ย. 54) เวลา 15.29 น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร :พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5ธันวาคม 2554 ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดขึ้นพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประธานมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการอำนวยการจัดงาน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นประธานจัดงานในแต่ละจังหวัด ดำเนินพิธีโดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป และพระสังฆาธิการจากวัดในกรุงเทพฯ 75 รูป รวมทั้งสิ้น 85 รูป ร่วมเจริญพระพุทธมนต์พระปริตรทุกบท และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

สำหรับคำว่า พระปริตร (อ่านว่า พระ-ปะ-หริด) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกัน เครื่องคุ้มครอง พระพุทธมนต์เจ็ดตำนาน ที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตำนานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร ตำนานหนึ่งเรียกว่า ปริตรหนึ่ง ซึ่งการสวดพระปริตร มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดพระปริตร เพื่อคุ้มครองป้องกันอันตรายจากโจรผู้ร้าย อมนุษย์ ภูตผีปีศาจ และสัตว์เดียรัจฉาน ตลอดจนโรคร้ายต่างๆ อานุภาพของพระปริตรที่สวดด้วยจิตที่มีสมาธิอันแน่วแน่ จะแผ่ไปถึงแสนโกฏิจักรวาล ทำให้ผู้สวดได้รับผลานิสงส์มหาศาลประมาณมิได้ และจะได้รับประโยชน์สุขทั่วกันทุกท่าน หากมีบุคคลมาร่วมกันประกอบกิจกรรมมากขึ้นเท่าใด อานุภาพของพระปริตรก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก

มอบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์และหนังสือสวดมนต์เป็นของที่ระลึก

สำหรับในกรุงเทพฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงเป็นประธาน โดยผู้ร่วมพิธีฯ จะได้รับมอบน้ำมนต์ และหนังสือบทสวดพระปริตร ซึ่งจัดพิมพ์อย่างพิเศษสี่สี จำนวน 2 แสนเล่ม สำหรับมอบเป็นธัมมบรรณการแก่ประชาชน และเป็นหนังสือบทสวดพระปริตรเล่มแรกที่มีภาพเขียนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบครบทุกพระปริตร โดย นายเนติกร ชินโย จิตรกรผู้เคยร่วมเขียนภาพในหนังสือพระมหาชนก) และภาพหน้าปกเป็นพระบรมรูปเขียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช ซึ่งทุกภาพเป็นภาพเขียนที่สวย งดงาม วิจิตรปราณีต เผยแพร่เป็นครั้งแรก และบทสวดใช้ต้นฉบับของพระคันธสาราภิวงศ์แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง

ถ่ายทอดสดไปยัง 167 ประเทศจาก 6 ทวีปทั่วโลก

ทั้งนี้ การจัดสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลวโรกาสนี้ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ จะถ่ายทอดสดให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ชม-ฟัง และร่วมอนุโมทนาบุญพร้อมกับประชาชนทั้งประเทศ และสถานีโทรทัศน์ ททบ. ช่อง 5 โดย Thai TV Global Network จะรับสัญญาณถ่ายทอดสดไปยัง 167ประเทศใน 6 ทวีปทั่วโลก ให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้รับชมเพื่อเป็นสิริมงคลในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีการถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย

ชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

ผู้มีจิตศรัทธาในทุกจังหวัดทั่วประเทศ สามารถจะมีส่วนร่วมทำบุญเนื่องในการสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลครั้งนี้ โดยบริจาคได้ที่ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร หรือโอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี 111–405193-1 หรือติดต่อได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0 2354 7391-4 หรือ E-mail :ruamchit_normklao@hotmail.com สามารถดาวน์โหลดใบแสดงความจำนง ได้ที่ www.ruamchit-normklao.org โดยมูลนิธิฯ จะรวบรวมเงินบริจาคที่มีผู้ร่วมทำบุญในวโรกาสพิเศษนี้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ถวายแด่องค์ประธานมูลนิธิฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสวดพระปริตรมหากุศลฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนามประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

เดินหน้าโครงการเช่าระบบและพัฒนาห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ให้โรงเรียนในสังกัดกทม.

(27 มิ.ย. 54) เวลา 09.00 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีส่งมอบห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามโครงการเช่าระบบและพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ ให้กับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 436 โรงเรียน โดยมีดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี ณ โรงเรียนนาหลวง เขตทุ่งครุ

กรุงเทพมหานครดำเนินการโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ระยะที่ 1 และ 2 ปรากฏว่าการดำเนินการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนประสบปัญหาเนื่องจากจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการใช้ของนักเรียน คือ นักเรียน 2 คน ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครู จากปัญหาดังกล่าวกรุงเทพมหานครได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด โดยได้จัดโครงการเช่าระบบและพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อนุมัติงบประมาณ 939 ล้านบาท ให้สำนักการศึกษาดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์และเนื้องานที่สำคัญ คือ กำหนดให้นักเรียนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน 1 คน ต่อ1 เครื่อง จัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ตลอด 4 ปี จัดให้มีการพัฒนาระบบ e-Learning ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดให้มีศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ สำหรับพัฒนาความรู้ด้าน IT ของครูและบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร และจัดให้มีศูนย์ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 1 แห่ง

ปัจจุบันโครงการดังกล่าว ได้มีการดำเนินการประมูลและลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว และผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ให้แล้วเสร็จ ภายใน 150 วันนับจากนี้ ปัจจุบันผู้ชนะการประมูลได้จัดทำห้องคอมพิวเตอร์ต้นแบบจำแนกตามกลุ่มเขต ให้กรุงเทพมหานครพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยห้องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรุ่นที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน สามารถรองรับเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับนักเรียนและครู จำนวน 41 เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายด้วยระบบ LANภายในห้องมีโต๊ะ เก้าอี้ ครบตามจำนวนผู้ใช้ 1 คน ต่อ 1 เครื่อง มีระบบเครื่องเสียง เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet Printer) เครื่องกราดภาพ (Scanner) และเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) เป็นต้น นอกจากนั้นโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน และครู ยังเป็นโปรแกรมรุ่นล่าสุดของไมโครซอฟต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไป ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Window 7 และโปรแกรมประยุกต์Microsoft Office 2010 Professional Plus เป็นต้น

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ห้องเรียนคอมพิวเตอร์เป็นความหวังและความต้องการของโรงเรียน ครู และนักเรียน เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่โดยขอยืนยันว่าจากนี้ไปอีกไม่เกิน 150 วัน ทุกโรงเรียนของกทม. จะมีห้องเรียนคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมที่ทันสมัยสมบูรณ์แบบครบทุกโรงเรียน และขอให้ครูและนักเรียนใช้ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาด้านการเรียนรู้และมีความเป็นเลิศในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อไปในอนาคต

ผู้ว่าฯกทม. ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการก่อสร้าง 2 สวนใหม่ในเขตบางกอกน้อย

(25 มิ.ย. 54) เวลา 09.00 น. ณ สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ (ซ.จรัญสนิทวงศ์ 25) เขตบางกอกน้อย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร “ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการสร้างสวนสิรินธราพฤกษาพรรณ”ก่อนเปิดให้บริการประชาชนในเดือน ก.ค. 54 และสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย แหล่งพันธุ์ไม้หายากในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค. 54

สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ ตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 เขตบางกอกน้อย มีพื้นที่รวม 3 ไร่ 16 ตารางวา ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงที่ดินให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนแก่ประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพมูลนิธิชัยพัฒนา และจัดพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมประเพณีชุมชน ลานอเนกประสงค์ ศาลาพักผ่อน สนามเด็กเล่น เพื่อช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง พร้อมอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น ต้นจันทน์กะพ้อ เอาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ยังอนุรักษ์เรือนไม้ไทยเก่าแก่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อนุรักษ์ไว้ โดยกรุงเทพมหานครจะพัฒนาเป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือช่างไม้ไทยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีไทยแก่เยาวชนในชุมชนต่อไป ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจจะเข้าใช้บริการและฝึกอาชีพ คาดว่าสวนสิรินธราพฤกษาพรรณ พร้อมเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2554 และเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-21.00 น.

จากนั้น เวลา 10.00 น. ผู้ว่าฯกทม. และคณะตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการก่อสร้างสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เพื่อเตรียมเปิดเป็นศูนย์ข้อมูลพฤกษศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายในเดือน ธ.ค. 54 สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา มีพื้นที่รวม 21 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการพัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก และเป็นศูนย์ข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์และอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่พักผ่อนและประกอบกิจกรรมนันทนาการสำหรับประชาชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีอีกด้วย โดยกรุงเทพมหานครยังคงรักษาสภาพภูมิทัศน์เดิมไว้ พร้อมทั้งคำนึงถึงสวยงามสอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agriculture Tourism) ที่มีการรวบรวมพันธุ์พืชหายาก เช่น ทุเรียนตลิ่งชัน ชมพู่ทับทิมจันทน์ มะยงพันธุ์ไข่ไก่ ฯลฯ และเป็นสวนสาธารณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานสวนสาธารณะระดับย่านอย่างครบถ้วน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบางกอกน้อยและคนกรุงเทพฯ โดยส่วนรวมอีกด้วย

สำหรับประชาชนที่สนใจจะเข้าใช้บริการและท่องเที่ยวเชิงเกษตร คาดว่าสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา พร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2554 และเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-21.00น. โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ดีใจแทนพี่น้องชาวกรุงเทพมหานครที่ได้รับสวนสาธารณะแห่งใหม่ มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน แหล่งศึกษาพันธุ์ไม้หายาก และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครมีโครงการสร้างสวนสาธารณะเพิ่มอีก 2 แห่ง ณ บริเวณแยกวัชรพล เขตบางเขน มีพื้นที่ 20 ไร่ และซอยเอกชัย 101 เขตบางบอน มีพื้นที่ 100 ไร่ โดยคาดว่าสามารถดำเนินการได้ในเดือน ส.ค. 54

เพิ่มศักยภาพความสามารถให้หัวหน้าสถานีดับเพลิง

พ.ญ. มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานมอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการสถานีดับเพลิง โดยมีนายยุทธศักดิ์ ร่มฉัตรทอง ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ

พ.ญ.มาลินี กล่าวแสดงความยินดีและให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการสถานีดับเพลิง โดยเป็นข้าราชการระดับ 7-8ว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสถานีดับเพลิงและหัวหน้าฝ่ายผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 37 คน เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้มีการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการบริหารงานในฐานะผู้บริหารของหน่วยงาน มีภาวะผู้นำและสามารถสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมทางการบริหารที่เหมาะสม รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการบริหารจัดการงานสถานีดับเพลิง เพื่อพัฒนางานของสถานีดับเพลิงกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กทม.เตรียมผุดโครงการก่อสร้างอาคารที่พักศูนย์ฝึกอบรมหนองจอก

ผนวกศูนย์ฝึกอบรมเข้ากับสนามกีฬาฟุตซอล ภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน พร้อมก่อสร้างอาคารที่พัก 9 ชั้น เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ทัดเทียมมาตรฐานสากล

(27 มิ.ย. 54) ณ ห้องสุทัศน์ กทม. : เวลา 12.00 น. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครว่า ศูนย์ฝึกอบรม ของสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2526 พื้นที่ทั้งหมด 163 ไร่ และในปี 2536 แบ่งพื้นที่ 9 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนฝึกอาชีพของกทม. ปัจจุบันได้ใช้เป็นศูนย์กลางในการจัด การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ให้กับทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนให้บริการสาธารณะแก่ชุมชนและประชาชน ประกอบด้วย ห้องประชุม/สัมมนา อาคารที่พัก และบ้านพักรับรอง สามารถรองรับการฝึกอบรมแบบไป-กลับได้ 1,000 คน พักค้างได้ 250 คน ซึ่งพบว่ามีปัญหาอาคารที่พักไม่เพียงพอในการให้บริการแบบพักค้าง กรณีเข้าใช้พร้อมกันหลายโครงการฯ

ทั้งนี้กทม. กำลังดำเนินการสร้างสนามกีฬาฟุตซอล เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 ตั้งอยู่ในพื้นที่ 50 ไร่ หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้นแล้วทางศูนย์ฝึกอบรมฯ สามารถปรับใช้ให้มีศักยภาพรองรับกิจกรรมและการฝึกอบรมได้ อาทิ พื้นที่สนามฟุตซอลสามารถเป็นส่วนจัดนิทรรศการขนาดใหญ่และที่นั่งสามารถประชุมคนได้จำนวนมาก ห้องฝึกอบรมขนาด 100-200 คนสามารถกั้นเป็นห้องย่อยได้ 3 ห้อง อาคารจอดรถชั้นดาดฟ้าสามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องขนาดใหญ่รองรับคนได้ 450-500 สามารถกั้นเป็นห้องย่อยได้ 2-3 ห้อง ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับการฝึกอบรมได้ประมาณ 4,500 คน แต่ยังไม่มีอาคารที่พักรองรับ

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารเห็นชอบให้สถาบันฯ ดำเนินการโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมฯ สู่การเป็นสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบริหารมหานคร เพื่อรองรับภารกิจและการปรับโครงสร้างองค์กรของสถาบันฯ ในอนาคต โดยก่อสร้างอาคารที่พักศูนย์ฝึกอบรมฯ 9 ชั้น ซึ่งนอกจากจะสามารถผนวกพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมฯ กับพื้นที่สนามกีฬาเพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่ากับงบประมาณและการลงทุนแล้ว ยังจะทำให้การจัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา โดยใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมฯ สามารถประหยัดงบประมาณของกทม. ได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการให้บริการองค์กรภายนอก สามารถจัดเก็บค่าบริการเป็นรายได้ให้แก่กทม. เกิดประโยชน์คุ้มค่าในภารกิจของรัฐได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการเพิ่มความสามารถรองรับการให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ และพัฒนาระบบการให้บริการที่มีคุณภาพทัดเทียมมาตรฐานสากลต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณ 115,556,000 บาท การโดยการจัดสรรงบประมาณ 2 ปี (55-56)

อย่างไรก็ตามที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่า สถาบันฯ ควรจัดทำแผนการดำเนินงานระยะยาว เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ว่าควรเป็นไปในรูปแบบใด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างสูงสุด รวมทั้งให้สำนักการโยธาประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมแผนการก่อสร้างอาคารจอดรถ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ต่อไป

ปิดงานพื้นอุโมงค์ทางลอดศรีนครินทร์-สุขุมวิท 103 ภาพรวมคืบหน้ากว่า 80%

(27 มิ.ย. 54) เวลา 13.00 น. : นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีผนึกคอนกรีตแผ่นสุดท้าย เพื่อปิดงานพื้นผิวจราจรของอุโมงค์ทางลอดแยกศรีนครินทร์- สุขุมวิท 103 ซึ่งจะทำให้โครงสร้างหลักของอุโมงค์ฯ แล้วเสร็จทั้งหมด โดยมีนายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยสำนักการโยธา กล่าวรายงานความคืบหน้าและภาพรวมของโครงการ ซึ่งปัจจุบันโครงการมีความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 80 และจะเปิดการจราจรได้ภายในเดือน ต.ค. 54 ตามแผนงาน ซึ่งเมื่อเปิดการสัญจรแล้วจะช่วยรองรับปริมาณรถยนต์ที่ผ่านแยกได้ถึง 14,000 คันต่อชั่วโมง และช่วยบรรเทาความหนาแน่นของถนนโครงข่ายใกล้เคียง เช่น ถนนสุขุมวิท ถนนบางนา-ตราด ถนนสุขุมวิท 103 และถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ได้เป็นอย่างมาก

อุโมงค์ทางลอดฯ ใกล้เสร็จพร้อมใช้งาน 17 ต.ค. 54

โครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีนครินทร์กับถนนสุขุมวิท 103 เป็นโครงการภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วนระยะกลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกทม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการตามมติคณะกรรมการครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 47 ดังนี้ สำนักการโยธา กทม. จึงดำเนินการสำรวจและออกแบบการก่อสร้างปรับปรุงโครงการดังกล่าว และดำเนินการต่อจนได้ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้าศรีนครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานโครงการประกอบด้วย บริษัทยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซันแตนท์ จำกัด บริษัทอรุณชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด และบริษัท เอ กรุ๊ป คอนซัลแตนท์ จำกัด เริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 52 ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 900 วัน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 17 ต.ค. 54

สำหรับลักษณะของโครงการเป็นการก่อสร้างทางลอดตามแนวถนนศรีนครินทร์ขนาด 4 ช่องจราจร แยกเป็นทิศทางละ 2 ช่องจราจร ความยาว 757 เมตร กว้าง 16.60 เมตร ความสูง 5 เมตร มีงานก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ปรับปรุงยกระดับถนน คันหินทางเท้าตลอดพื้นที่โครงการและส่วนต่อเนื่อง รวมความยาวโครงการมากกว่า 1 กิโลเมตร

ต่อเนื่องโครงการปรับปรุงถนนศรีนครินทร์เชื่อมเส้นทางลอดให้การสัญจรคล่องตัวยิ่งขึ้น

นอกจากนี้สำนักการโยธายังได้มีการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับโครงการปรับปรุงทางลอดฯ โดยได้เริ่มดำเนินการจากแยกพัฒนาการ-สุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ที่จะปรับปรุงยกระดับถนนเดิมให้สูงขึ้นอีก 50 ซม. และขยายถนนจาก 6 ช่อง เป็น 8 ช่องจราจร พร้อมระบบระบายน้ำ ระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2553 ใช้เวลาก่อสร้าง 750 วัน ทั้งนี้เมื่อโครงการปรับปรุงถนนศรีนครินทร์ฯ แล้วเสร็จ และเชื่อมต่อกับทางลอดแห่งนี้แล้ว จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการจราจรในถนนศรีนครินทร์เชื่อมต่อกับถนนพระราม 9 และทางพิเศษศรีรัชหรือ ทางด่วนขั้นที่ 2 ตอน D ทำให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นในอนาคตได้ถึง 12,000 คันต่อชั่วโมง ช่วยบรรเทาความแออัดของการจราจรบนถนนศรีนครินทร์และถนนสายหลักในบริเวณใกล้เคียง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการจราจรให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นในอนาคต ทำให้ลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างศูนย์กลางเมืองกับพื้นที่ฝั่งตะวันออก และยังเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในถนนศรีนครินทร์ เป็นการลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้น

เตรียมเผยแพร่หนังสือชุด 2 ปี การบริหารงานกรุงเทพมหานคร

(27 มิ.ย. 54) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 21/2554 ซึ่งมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือสรุปผลงานในรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครโดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจัดทำขึ้น มีลักษณะเป็นหนังสือชุด 7 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 2 ปี ของการบริหารงานกรุงเทพมหานคร เล่มที่ 2 งานคลี่คลายปัญหาจราจรและขนส่ง เล่มที่ 3 งานเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เล่มที่ 4 งานส่งเสริมสุขภาพคนเมือง เล่มที่ 5 งานดูแลความปลอดภัยและ จัดระเบียบเมือง เล่มที่ 6 งานขับเคลื่อนเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว เล่มที่ 7 งานยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทั้งหมดบรรจุในรูปแบบกล่อง จัดพิมพ์จำนวน 20,000 ชุด ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมเผยแพร่หนังสือดังกล่าวให้แก่คณะผู้บริหาร หน่วยงาน และส่วนราชการต่างๆ แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทั่วประเทศร่วมสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล

กทม. ร่วมกับมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ จัดพิธีสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมถ่ายทอดสดให้ประชาชนร่วมอนุโทนาบุญใน 6 ทวีปทั่วโลก

(25 มิ.ย.54) เวลา 15.29 น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร : พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดขึ้นพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประธานมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการอำนวยการจัดงาน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นประธานจัดงานในแต่ละจังหวัด ดำเนินพิธีโดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป และพระสังฆาธิการจากวัดในกรุงเทพฯ 75 รูป รวมทั้งสิ้น 85 รูป ร่วมเจริญพระพุทธมนต์พระปริตรทุกบท และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

สำหรับคำว่า พระปริตร (อ่านว่า พระ-ปะ-หริด) แปลว่า ความต้านทาน เครื่องป้องกัน เครื่องคุ้มครอง พระพุทธมนต์เจ็ดตำนาน ที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตำนานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร ตำนานหนึ่งเรียกว่า ปริตรหนึ่ง ซึ่งการสวดพระปริตรมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดพระปริตร เพื่อคุ้มครองป้องกันอันตรายจากโตรผู้ร้าย อมนุษย์ ภูตผีปีศาจ และสัตว์เดียรัจฉาน ตลอดจนโรคร้ายต่างๆ อานุภาพของพระปริตรที่สวดด้วยจิตที่มีสมาธิอันแน่วแน่ จะแผ่ไปถึงแสนโกฏิจักรวาล ทำให้ผู้สวดได้รับผลานิสงส์มหาศาลประมาณมิได้ และจะได้รับประโยชน์สุขทั่วกันทุกท่าน หากมีบุคคลมาร่วมกันประกอบกิจกรรมมากขึ้นเท่าใด อานุภาพของพระปริตรก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก

มอบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์และหนังสือสวดมนต์เป็นของที่ระลึก

สำหรับในกรุงเทพฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงเป็นประธาน โดยผู้ร่วมพิธีฯ จะได้รับมอบน้ำมนต์ และหนังสือบทสวดพระปริตร ซึ่งจัดพิมพ์อย่างพิเศษสี่สี จำนวน 2 แสนเล่ม สำหรับมอบเป็นธัมมบรรณการแก่ประชาชน และเป็นหนังสือบทสวดพระปริตรเล่มแรกที่มีภาพเขียนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบครบทุกพระปริตร โดย นายเนติกร ชินโย (จิตรกรผู้เคยร่วมเขียนภาพในหนังสือพระมหาชนก) และภาพหน้าปกเป็นพระบรมรูปเขียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช ซึ่งทุกภาพเป็นภาพเขียนที่สวย งดงาม วิจิตรปราณีต เผยแพร่เป็นครั้งแรก และบทสวดใช้ต้นฉบับของพระคันธสาราภิวงศ์แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง

ถ่ายทอดสดไปยัง 167 ประเทศจาก 6 ทวีปทั่วโลก

ทั้งนี้ การจัดสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลวโรกาสนี้ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ จะถ่ายทอดสดให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ชม-ฟัง และร่วมอนุโมทนาบุญพร้อมกับประชาชนทั้งประเทศ และสถานีโทรทัศน์ ททบ. ช่อง 5 โดย Thai TV Global Network จะรับสัญญาณถ่ายทอดสดไปยัง 167 ประเทศใน 6 ทวีปทั่วโลก ให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้รับชมเพื่อเป็นสิริมงคลในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีการถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย

ชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

ผู้มีจิตศรัทธาในทุกจังหวัดทั่วประเทศ สามารถจะมีส่วนร่วมทำบุญเนื่องในการสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลครั้งนี้ โดยบริจาคได้ที่ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร หรือโอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี 111 – 405193 - 1 หรือติดต่อได้ที่โทรศัพท์ หมายเลข 0 2354 7391 - 4 หรือ E-mail : ruamchit_normklao@hotmail.com สามารถดาวน์โหลดใบแสดงความจำนง ได้ที่ www.ruamchit-normklao.org โดยมูลนิธิฯ จะรวบรวมเงินบริจาคที่มีผู้ร่วมทำบุญในวโรกาสพิเศษนี้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ถวายแด่องค์ประธานมูลนิธิฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสวดพระปริตรมหากุศล เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนามประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย