1. มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศ 11 พฤษภาคม 2554 มีผลบังคับใช้ต้นเดือนกรกฎาคม) ระหว่างวันนี้ถึงต้นกรกฎาคม ยังไม่มีผลบังคับใช้
2. คนที่เดิมกฎหมายไม่บังคับให้ต้องมีบัตรประชาชน (เช่น คนที่อายุเจ็ดปีถึงสิบสี่ปี) จะได้รับการผ่อนผันยืดเวลา deadline ไปอีกหนึ่งปีนับจากวันที่มีผลบังคับใช้ และอาจผ่อนผันต่อไปอีกได้ (หมายความว่าทำได้ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 54 ไปจนถึงต้นเดือนกรกฎา 55 โดยที่ไม่โดยไม่เสียปรับ)3. ค่าบริการในกรณีทำบัตรครั้งแรกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาศัยความตามมาตรา 6
มาตรา ๖ ผู้ซึ่งต้องมีบัตรตามมาตรา ๕ ให้ยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่
(๑) วันที่อายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์
(๒) วันที่ได้สัญชาติไทย สำหรับผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
(๓) วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
(๔) วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น
มาตรา ๖ ทวิ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต
มาตร ๖ ตรี ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ ผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ”
มาตรา ๖ จัตวา การขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ของผู้มีอายุไม่ถึงสิบห้าปี ให้เป็นหน้าที่ของบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้นั้นอยู่ เป็นผู้ยื่นคำขอแต่ไม่เป็นการตัดสิทธิบุคคลนั้น
ที่จะยื่นคำขอด้วยตนเอง”
ข้อดีคือ
-เอาบัตรเด็กไปใช้เมื่อรับบริการของรัฐ ผู้ปกครองไม่ต้องพกหลักฐานเอกสารอื่นๆให้ยุ่งยาก-ถ้าบัตรใบเดียวใช้ได้ทุกอย่างทุกที่ ก็ดีสำหรับเด็ก(และผู้ปกครอง)-อีกอย่างนึงคือ ปัจจุบันมีเด็กที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวเยอะมาก การที่เด็กไทยมีบัตรประชาชนไว้แสดงตนจึงนับเป็นข้อดี
ข้อเสียคือ
-เด็กวัยนี้ทำของหายบ่อย ผู้ปกครองคงปวดตับถ้าต้องทำบัตรใหม่บ่อยๆ
-เพิ่มการใช้งบประมาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น