ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร
การทำงานของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้แบ่งบทบาท
หน้าที่กันเป็นอย่างดีเพื่อตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน อันเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ทุกสำนัก ทุกหน่วยงาน ทุกสำนักงานเขต จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสามัญประจำสภาขึ้น จำนวน 11 คณะ
1 .คณะกรรมการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
มีหน้าที่กระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งได้แก่เรื่องการปกครองและทะเบียน การป้องกันอุบัติภัย การรับและพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน

2.คณะกรรมการกิจการสภากรุงเทพมหานคร
มีหน้าที่ติดตามมติ ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตในเรื่องต่างๆที่สภากรุงเทพมหานครได้เห็นชอบและส่งให้ฝ่ายบริหารนำไปพิจารณาดำเนินการแล้วแต่ยังมิได้กำเนินการ ตลอดจนรับคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสภาเขต

3.คณะกรรมการการท้องเที่ยวและการกีฬา
มีหน้าที่พิจารณาการทำงานด้านการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว และสำนักงานเขตต่างๆ แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

4.คณะกรรมการการจราจรขนส่งและระบายน้ำ
มีหน้าที่ศึกษา พิจารณามาตรการดำเนินงานด้านการจราจรการขนส่งและการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครติดตามตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการต่างๆของสำนักการจราจรและขนส่ง เช่น การก่อสร้างถนน ทางลอด ทางข้าม สะพานลอยรถข้าม ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสำนักการระบายน้ำเพื่อป้องกันแก้ไขน้ำท่วม

5.คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีหน้าที่พิจารณาการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา และข้อขัดข้องต่างๆ ในการดำเนินการขอหน่วยงานแล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

6.คณะกรรมการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และติดตามงบประมาณ
มีหน้าที่กระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ในด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การงบประมาณ การจัดเก็บรายได้การพัฒนาที่ดิน การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การพัฒนากิจการการคตลาดและสวัสดิการสังคมชของข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร

7.คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
มีหน้าที่พิจารณาการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวกับการจัดการขยะ และสิ่งปฏิกูล การจัดกาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

8.คณะกรรมการสาธารณสุข
มีหน้าที่พิจารณาและศึกษาด้านการสาธารณสุข ซึ่งประกอบ ด้วยงานสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมโรค และส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และระบบสาธารณสุข รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ ต่อฝ่ายบริหาร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

9.คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง
มีหน้าที่พิจารณาศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับงานโยธาและการจัดทำผังเมือง ในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้งศึกษาปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชน เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

10.คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม
มีหน้าที่พิจารณาศึกษาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อฝ่ายบริหารในการส่งเสริมการบริหารงานด้านการศึกษาของโรงเรียนในการสังกัดกรุงเทพมหานคร ตลอดจนงานด้านวัฒนธรรม

11.คณะกรรมการการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
มีหน้าที่พิจารณาตรวจรายงานการประชุมของสภากรุงเทพมหานคร ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการได้จัดทำขึ้นใหเป็นไปตามข้อเท็จจริงในการประชุมและถูกต้องตามหลักภาษา ตลอดจนวางมาตรฐานในการจดรายงานการประชุมแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้ถือปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น