ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยสรุปมีดังนี้
1. อำนาจในการเสนอและการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการตราข้อบัญญัติเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายของกรุงเทพมหานคร
2. อำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
3. อำนาจในการอนุมัติและการพิจารณาให้ความเห็นชอบในกิจการที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องขอความเห็นชอบจากสภา หรือต้องรายงานให้สภาทราบ อันได้แก่ การให้บริการแก่เอกชน หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยเรียกเก็บค่าบริการ การดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานคร การกระทำการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัท หรือการถือหุ้นในบริษัท และรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลง เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
4. อำนาจในการอนุมัติ ในข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
5. อำนาจในการวินิจฉัยให้สมาชิกสภาฯ ออก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
6. ร่วมกับฝ่ายบริหารในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
7. อำนาจในการควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งมีวิธีควบคุมได้ 4 ประการด้วยกันคือ
7.1 การตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเรื่องใดๆ
อันเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
7.2 การเสนอญัตติเพื่อให้กรุงเทพมหานครดำเนินการอย่างใด
อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
7.3 การเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งจะกระทำได้โดยสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด เข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้
7.4 การเป็นกรรมการสภา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกสภาที่จะควบคุมติดตามผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้เพราะคณะกรรมการของสภามีอำนาจกระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น