ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สผม. จัดประชุมพิจารณาแผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดิน

น.ส.อัญชลี ปัทมาสวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. แจ้งว่า ตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครได้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินฯ เรียบร้อยแล้วประกอบด้วย ผศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ นายชุณหเดช พรหมเศรณี และนายอิสระ บุญยัง นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2553 ขึ้น ในวันที่ 2 ก.ค. 53 เวลา 13.30–16.00 น. ณ ห้องสุทัศน์ ชั้น 2 ศาลาว่าการกทม.
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยที่แผนแม่บทดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองที่เป็นระบบและเหมาะสมสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้เกิดการประสานแผนการดำเนินการระหว่างการพัฒนาเมืองกับการพัฒนาระบบบริการพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมสมบูรณ์ เช่น ถนน ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดรูปที่ดินฯ จะได้ดำเนินการพิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งสมาคมจัดรูปที่ดินโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณ สวนหลวง ร.9 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการแรกที่ดำเนินการด้วยวิธีการจัดรูปที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
----------------------------

กทม. จัดอบรมตรวจสอบสารเคมีอันตราย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนกรุง

เรืออากาศโทอิราวัสส์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า ปัจจุบัน ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดมลพิษและมลภาวะในชุมชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ สถานประกอบการหลายแห่งตั้งอยู่รวมกับชุมชน ผู้ประกอบการบางรายมีพฤติกรรมที่จะหลีกเลี่ยงการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง โดยการนำสารเคมีที่เสื่อมสภาพ หรือกากของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตเททิ้งลงท่อระบายน้ำ หรือนำไปทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยชุมชน หรือการนำไปทิ้งตามที่รกร้างห่างไกลที่อยู่ของประชาชนในยามวิกาล กรณีเหล่านี้ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน

จึงกำหนดจัด “โครงการอบรมเพื่อตรวจสอบและประเมินเบื้องต้น เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย” ให้แก่เจ้าหน้าที่และข้าราชการของกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน จากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะนักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่อนามัย นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่จากสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มพูนประสบการณ์เกี่ยวกับการจำแนกแยกสารเคมีอันตรายออกจากชุมชน พร้อมทั้งการประสานแจ้งเหตุกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การจัดการแก้ไขปัญหาสารเคมีและกากของเสียได้อย่างทันท่วงที บางกรณีอาจนำไปสู่การสืบหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย

ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวด้วยว่า การจัดการขยะอันตรายในกรุงเทพมหานคร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานครเพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของบ้านเรือนและชุมชนช่วยแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไปก่อนนำไปทิ้ง ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน นอกจากนั้นในส่วนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างแท้จริง และเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืน
----------------------------

เตรียมแผนพร้อมรับมืออุบัติภัยจากพายุหมุนเขตร้อนในกรุงเทพฯ

กทม. วางแผนรับมือเหตุพายุหมุนเขตร้อน ปี 53 จัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง พร้อมป้องกันให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ หากประสบเหตุให้ประชาชนรับมืออย่างมีสติ และไม่ประมาท

พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน พ.ค. – ส.ค. ทุกปี มักเกิดพายุหมุนเขตร้อน มีลมกรรโชกแรง ฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่งจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ กรุงเทพมหานครได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติภัยจากพายุหมุนเขตร้อนประจำปี 2553 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สำนักการระบายน้ำ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการโยธา สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักงานเขต เตรียมพร้อมปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ตลอด 24 ชั่วโมง เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุด้วยความรวดเร็ว โดยจัดกำลังคนทั้งจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ รถยก และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและวาตภัยเขตทั้ง 50 เขต เพื่อเป็นศูนย์ประสานการช่วยเหลือ กำหนดนโยบายและแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดหน่วย BEST ลงพื้นที่เสี่ยงเกิดปัญหาน้ำท่วม พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องอุปโภค – บริโภค เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค น้ำดื่ม และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับผู้ประสบภัยด้วย ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งเหตุได้ที่ สายด่วนกทม. โทร. 1555

ขอให้ประชาชนไม่ประมาท เตรียมพร้อมสำหรับการหลบเลี่ยงอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองอย่างมีสติ โดยขณะเกิดพายุหมุนหรือฝนฟ้าคะนองให้ประชาชนอยู่ห่างจากสิ่งที่อาจโค่นล้มได้ เช่น ป้ายโฆษณา ต้นไม้ เสาไฟฟ้า และควรอยู่ภายในอาคารบ้านเรือนที่มีความมั่นคงแข็งแรงจนกว่าสถานการณ์จะสงบ ถ้าอยู่ในตึกหรืออาคารสูงให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์เพราะอาจเกิดไฟฟ้าดับทำให้ติดค้างอยู่ในลิฟต์ได้ หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้หรือเพิงพักที่อยู่โดดเดี่ยว ไม่ควรใส่เครื่องประดับหรือถือวัตถุโลหะ หลีกเลี่ยง และหยุดทำกิจกรรมทันที เนื่องจากพื้นที่เปียกและวัตถุที่สูงหรืออยู่โดดเดี่ยวจะเป็นสื่อล่อฟ้า เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้ ควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและโทรศัพท์ ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน อย่าหยิบจับหรือเข้าใกล้สายไฟฟ้าหรือสายโทรศัพท์ที่ขาดตกห้อยตามพื้นถนนเพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดได้ ควรให้คำแนะนำ ตักเตือนบุตรหลานให้อยู่ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงดูแลสิ่งของต่างๆ ที่อยู่นอกบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเสมอ หากประชาชนพบเห็นกิ่งไม้ที่ไม่แข็งแรง หรือพาดอยู่บนสายไฟ หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงอาจโค่นล้มจากลมพายุได้ ให้รีบแจ้งศูนย์กู้ภัย โทร. 199 และสำนักงานเขตท้องที่ดำเนินการแก้ไขต่อไป
----------------------------

กทม. กับกองทัพภาค 1 ลงนามความร่วมมือปรับปรุงสนามหลวงให้คืนความสง่างาม

กทม. จับมือกองพลพัฒนาที่ 1 ดำเนินโครงการ “ปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล” ให้กลับคืนความสง่างามเช่นในอดีต ใช้เวลาปรับปรุง 300 วัน งบ 181 ล้านบาท เตรียมพร้อมจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

30 มิ.ย. 53 เวลา 09.30 น. ณ เต็นท์พิธีสนามหลวง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนินการงานปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สนามหลวง และโครงการขุดลอก คู คลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร” ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับกองทัพภาคที่ 1 โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร นายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กับกองทัพบก โดย พลโทคณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พลตรี ธวัชชัย นุ่มนิ่ม ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 พันเอกทวีวัฒน์ บุรณสิงห์ รองผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 พันเอกศุภวัฒน์ เชิดธรรม รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 และพันเอกกิติศักดิ์ มาระเนตร์ เสนาธิการกองพลพัฒนาที่ 1 ร่วมลงนาม

กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการ “ปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล” ขึ้น เพื่อฟื้นฟูสนามหลวงให้กลับคืนความสง่างามเช่นในอดีต ที่เป็นสถานที่สำคัญสำหรับคนไทยในการจัดงานพระราชพิธี งานเทศกาล และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาแม้มีการปรับปรุงและซ่อมแซมสนามหลวงมาโดยตลอด แต่ยังมีปัญหาต่างๆ ทั้งความสกปรกชำรุดของพื้นที่ ปัญหาหาบเร่ แผงลอย คนเร่ร่อนไร้บ้าน รวมไปถึงปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม

ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้รับความร่วมมือจากกองทัพในการบูรณะฟื้นฟูสนามหลวง โดยลงนามบันทึกข้อตกลงกับกองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก ให้เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลาปรับปรุง 300 วัน งบประมาณ 181 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูและคืนจิตวิญญาณสนามหลวงให้คงความสง่างาม สมศักดิ์ศรีและเตรียมพร้อมจัดพิธีสำคัญ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

สำหรับการปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑลนั้น ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ทั้งการปรับปรุงด้านกายภาพ การจัดการปัญหานกพิราบ การจัดหาสถานที่รับพักพิงคนเร่ร่อน การจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย เช่น การช่วยเหลือผู้ค้ารอบสนามหลวง ได้จัดพื้นที่ขายชั่วคราวไว้ที่บริเวณตรอกเสถียร ตรอกสาเก ถนนราชินีและถนนอัษฎางค์ มีผู้ค้าลงทะเบียน 676 ราย เริ่มย้ายผู้ค้าไปขายตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 3 จุด ซึ่งกทม. ได้ประสานกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พิจารณาแก้ไขข้อบังคับจราจรเรื่องการห้ามจอดรถในบริเวณตรอกสาเกและตรอกเสถียร จากเดิมห้ามจอดรถสลับวันคู่และวันคี่ เป็นห้ามจอดรถฝั่งเดียว(ฝั่งริมคลองหลอด) ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันทำการ ปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยระหว่างการปรับปรุงภูมิทัศน์ กรุงเทพมหานครจะจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจประมาณ 300 นาย ร่วมกับตำรวจ ตรึงกำลังดูแลโดยรอบไม่ให้มีการฝ่าฝืนเข้าพื้นที่ที่มีการติดตั้งรั้วล้อมรอบช่วงปรับปรุง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวกในการดำเนินงาน

ในโอกาสเดียวกันนี้กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 1 ในโครงการขุดลอก คู คลองในเขตกรุงเทพมหานคร รวมระยะทาง 677 กิโลเมตร ใช้เวลาดำเนินการ 150 วัน ด้วยงบประมาณ 380 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเป็นแก้มลิงในการรองรับน้ำได้เพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมให้กับประชาชนในช่วงหน้าฝนนี้อีกด้วย
----------------------------

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เร่งเปิดเดินรถโมโนเรลสายแรกย่านจุฬาฯ คาดได้นั่ง ม.ค. 56

กทม. เดินหน้าโครงการโมโนเรล 3 สาย ย่านจุฬาฯ คาดมีผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 10,000 คนต่อวัน เริ่มเฟสแรกสายสีน้ำเงินระยะทาง ราว 1.5 กิโลเมตร ต่อด้วยสายสีชมพู เชื่อสามารถให้บริการประชาชนได้ภายในเดือน ม.ค. 56

: ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินการด้านความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับทางจุฬาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีแนวทางความร่วมมือกันใน 3 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาการเดินรถโมโนเรล จำนวน 3 เฟส การจัดสรรพื้นที่สร้างศูนย์ราชการ และการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยนอกจุดผ่อนผันบริเวณ ถ.พระรามที่ 1 และ ถ.พญาไท

เดินหน้าโมโนเรลสายแรกปลายปีหน้

การพัฒนาระบบเดินรถโมโนเรลทั้ง 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สายสีน้ำเงิน จากสยามสแควร์ จามจุรีสแควร์ 2 เป็นการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว กับรถโมโนเรลสายสีน้ำเงิน ระยะที่ 2 สายสีชมพู จะพัฒนาเข้าไปในพื้นที่ด้านใน ซ.จุฬา 5 และ ซ.จุฬา 12 โดยจะผ่านพื้นที่ที่ใช้จัดสร้างศูนย์ราชการในอนาคตด้วย และระยะที่ 3 สายสีส้ม ให้บริการเส้นทาง ถ.อังรีดูนังต์ สยามสแควร์ โดยจะให้มีการยกเว้นการจอดรถในบางบริเวณ ซึ่งคาดว่าในปีหน้าโครงการจะเริ่มเดินหน้าทั้งการจัดเตรียมงบประมาณ การจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเร่งดำเนินการสายสีน้ำเงินเป็นสายแรกให้ทันในปี 54 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธ.ค. 54 ซึ่งน่าจะเปิดใช้ได้ทันในเดือน ม.ค. 56

จัดสรรพื้นที่ 5 ไร่ เป็นที่ศูนย์ราชการและสถานีตำรวจปทุมวัน

สำหรับการจัดสร้างศูนย์ราชการที่เป็นที่ตั้งของหน่วยงานกทม. 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเขตปทุมวัน สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบรรทัดทอง ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 ศูนย์เยาวชนปทุมวัน และศูนย์ฝึกอาชีพลุมพินี และหน่วยงานภายนอก 1 แห่ง คือ สถานีตำรวจปทุมวัน ทั้งนี้ ทางจุฬาฯ ได้จัดสรรพื้นที่ให้ 5 ไร่ โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลการดำเนินงานทั้งด้านการจัดเตรียมงบประมาณและแผนงานการดำเนินการ ซึ่งให้รายงานผลและความคืบหน้าให้ทราบภายใน 3 เดือน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงาน และสามารถเดินหน้าโครงการได้อย่างรวดเร็ว

จุฬาฯ เตรียมสงวนสิทธิ์ในพื้นที่ก่อนกั้นแนวเขตห้ามขายของ

ส่วนการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในพื้นที่ของจุฬาฯ รอบบริเวณสยามสแควร์ เบื้องต้นทางจุฬาฯ จะขอสงวนสิทธิ์ในพื้นที่ของตนเองก่อน จากนั้นจะเริ่มจากเขตบริเวณกันสาด เพื่อจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ค้า หาบเร่แผงลอย กว่า 300 ราย ได้ตั้งวางสิ่งของจำหน่ายลุกล้ำพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณ ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท จึงจะมีการจัดระเบียบผู้ค้า หาบเร่แผงลอยดังกล่าว เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชน และความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงามของพื้นที่บริเวณดังกล่าวด้วย

----------------------------

รพ.ตากสิน เปิดงานเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก 1 ก.ค. นี้


นางกิตติยา ศรีเลิศฟ้า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากสิน กทม. กล่าวว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จไปทรงเปิดประชุมวิชาการและทรงติดตามการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวของเด็กและเยาวชนไทยในพระอุปถัมภ์ฯ พื้นที่ 20 กรุงเทพมหานคร ณ โรงพยาบาลตากสิน ในวันที่ 1 ก.ค. 53

โครงการ เครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวของเด็กและเยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นโครงการสืบเนื่องจากพระดำริ และพระปณิธานของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ที่ทรงเมตตาต่อมารดาและทารก ในการส่งเสริมสุขภาพ เริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ถึงระยะหลังคลอด เพื่อให้ทั้งมารดาและทารกแข็งแรง ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 9 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่งได้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 51 เป็นต้นมา สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย ช่วงเช้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ จะประทานพระดำรัส และประทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านมารดาและทารกโรงพยาบาลตากสิน จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกฯ ประทานกระเป๋าเยี่ยมให้แก่มารดาและมารดารอคลอด ทอดพระเนตรการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกป่วย และทารกปกติในหออภิบาลกุมารเวชกรรม และทอดพระเนตรเด็กคลอดก่อนกำหนดที่มารับการกระตุ้นพัฒนาการ พร้อมประทานกระเป๋าเยี่ยมแก่เด็ก ณ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ สำหรับกิจกรรมในช่วงบ่าย ประกอบด้วย การบรรยาย เรื่อง การป้องกันดูแลรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนด การป้องกันและดูแลรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนด และการรักษาติดตามทารกคลอดก่อนกำหนด โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ

นางกิตติยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลตากสินได้ร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกทม. อีก 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานและความรู้ทางวิชาการขึ้น ในหัวข้อต่างๆ 13 หัวข้อ อาทิ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น สุขภาพช่องปากในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด แนวทางการวางแผนจำหน่ายและดูแลทารกน้ำหนักน้อยมากแบบองค์รวม และโครงการป้องกันและรักษาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมารดาและทารก ซึ่งอนามัยของแม่และเด็กจะส่งผลไปยังการพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตอีกด้วย

----------------------------

ชวนประชาชนส่งเรื่องแม่ที่ควรยกย่องร่วมคัดเลือกเป็นแม่ดีเป็นศรีของชาติ ปี 53

นายชุมพล ชาวเกาะ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ กทม. แจ้งว่า สมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับสภายุวพุทธิสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะจัดให้มีการคัดเลือก แม่ดีเป็นศรีของชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2553 โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นแม่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้อยู่ศีลธรรมอันดีงาม ประกอบสัมมาอาชีพ ดูแลลูกด้วยความรัก เอาใจใส่ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และลูกทุกคนเป็นคนดี มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในศีลธรรมอันดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

ผู้สนใจส่งเรื่องแม่ที่สมควรยกย่องเป็นแม่ดีเป็นศรีของชาติได้ที่สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ เลขที่ 58 ซ.ศุภราช 1 ถ.พหลโยธิน 8 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ภายในวันที่ 16 ก.ค. 53 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2272 6452

กทม.เยียวยาผู้รับผลกระทบ เร่งสรรหากรรมการดูแลกองทุน Together We Can

(28 มิ.ย.53) ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) : นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 17/2553 ซึ่งมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เมื่อช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว ซึ่งจากการเปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบมาลงทะเบียนที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง” ณ สำนักงานเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและการชุมนุมทางการเมือง ทั้ง 7 เขต ปรากฎว่ามีผู้มาลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 61,746 ราย แบ่งเป็น เขตปทุมวัน 42,027 ราย เขตราชเทวี 9,536 ราย เขตบางรัก 6,411 ราย เขตคลองเตย 2,087 ราย เขตสาทร 653 ราย เขตวัฒนา 637 ราย และเขตดินแดง 395 ราย

รองโฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในเบื้องต้นกรุงเทพมหานครได้ส่งคำร้องให้คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งคณะกรรมการได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการ รายละ 50,000 บาท ตามงบประมาณของรัฐบาล โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 2,009 ราย แบ่งจ่ายเป็น 5 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 - 20 มิถุนายน 2553 และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ อีก 1,071 ราย

โดยกรุงเทพมหานครทำหน้าที่ในการรับลงทะเบียนผู้ประสบภัยและคัดกรองข้อมูลเบื้องต้น เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลดำเนินการให้ความช่วยเหลือผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นพบปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน และมีผู้ปลอมแปลงเอกสารมาลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ จึงได้มีการให้ผู้รับผลกระทบแจ้งความ ณ สน.พื้นที่ ก่อนมาลงทะเบียนรับความช่วยเหลือ ซึ่งหากตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจริงจะถูกดำเนินคดีฐานแจ้งความเท็จต่อไป สำหรับกองทุน Together We Can รวมกัน เราทำได้ ซึ่งขณะนี้มียอดเงินบริจาครวม 13 ล้านบาท อยู่ระหว่างการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการจากบุคคลภายนอกเข้าทำหน้าที่กำหนดแนวทางการใช้จ่ายเงิน
ขยายเวลารับเงินช่วยเหลือจากเหตุเพลิงไหม้ถึง 13 ก.ค.นี้

พร้อมกันนี้ กรุงเทพมหานครโดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ตั้งแต่วันที่ 3 - 24 มิถุนายน 2553 รายละ 10,000 บาท จำนวน 992 ครอบครัว รวมวงเงินช่วยเหลือ 9,706,934 บาท และขยายเวลาให้ผู้ประกอบการฯ ที่ยังไม่ได้ติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือสามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้ถึงวันที่ 13 ก.ค.53 นี้
จัดพื้นที่ขายสินค้าสำหรับผู้ค้ารายย่อย และหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ

รองโฆษกกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือด้านพื้นที่ค้าขาย ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดหาพื้นที่ขายสินค้าสำหรับผู้ค้ารายย่อย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อาคารซิตี้คอมเพล็กซ์ เมโทรแฟชั่นมอลล์ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า จตุจักรสแควร์และจตุจักรเซ็น กรุงทองพลาซ่า และร่วมกับสำนักงานเขตบางรักจัดงานงานถนนคนเดิน Together We Can : Grand Sale @ สีลม เมื่อวันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2553 ผู้ได้รับสิทธิ์ออกร้าน จำนวน 1,541 ร้าน มีเงินสะพัดกว่า 120 ล้านบาท และในพื้นที่ของสำนักงานเขตราชเทวี จัดงาน Together We Can : Grand Sale @ รางน้ำ เมื่อวันที่ 19 - 20 มิถุนายน 2553 ผู้ได้รับสิทธิ์ออกร้าน จำนวน 700 ร้าน มีเงินสะพัด 70 ล้านบาท

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังจัดโครงการ Together We Can “ยิ้มสู้...กู้สร้างอาชีพ 2” ซึ่งดำเนินการร่วมกับธนาคารออมสิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตกรุงเทพมหานคร โดยขยายวงเงินกู้จาก 1 แสน เป็น 2 แสนบาท และให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

30 มิ.ย. นี้ กทม. ส่งมอบสนามหลวงให้กองพลพัฒนาที่ 1 ปรับปรุงพื้นที่ 300 วัน

(28 มิ.ย. 53) ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงและปริมณฑล เปิดเผยภายหลังการตรวจความเรียบร้อยบริเวณโดยรอบสนามหลวง ก่อนทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในวันที่ 30 มิ.ย. นี้ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้กับกองพลพัฒนาที่ 1 กองทัพบก ในการเข้าดำเนินการปรับปรุง ซึ่งการจัดเตรียมพื้นที่ก่อนส่งมอบนั้น ทางสำนักงานเขตพระนครร่วมกับสำนักการโยธา และกองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้สร้างรั้วล้อมรอบพื้นที่สนามหลวง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งได้จัดพื้นที่ว่างบนทางเท้า รวม 4 จุด เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นจุดรอรถโดยสารประจำทาง นอกจากนี้ได้ทำถนนผ่ากลางซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางของท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเส้นทางผ่านจากท่าพระจันทร์มายังศาลฎีกา สำหรับการจัดงานพระราชพิธีต่างๆ นั้น ได้ประสานไปยังมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช โดยจะใช้ลานพระราชวังดุสิตหรือลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่จัดงานพระราชพิธี เช่น งาน 12 สิงหามหาราชินี และงาน 5 ธันวามหาราช โดยพื้นที่สนามหลวงจะทำการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นระยะเวลา 300 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเม.ย.54 ส่วนการบังคับใช้กฎหมายนั้น ทางกรุงเทพมหานครได้ประสานกับกรมศิลปากรในการบังคับใช้กฎหมายโบราณสถานแห่งชาติ โดยจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่กระทำผิด

สำหรับการแก้ปัญหาผู้ค้าสนามหลวง ทางกรุงเทพมหานครได้ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลในการผ่อนผันเป็นการชั่วคราวให้กับผู้ค้าทำการค้าบนทางเท้าในตรอกเสถียร ตรอกสาเก ถนนอัษฎางค์ และถนนราชินี โดยทางสำนักงานเขตพระนครได้จัดแผงค้ารองรับผู้ค้าบริเวณถนนอัษฎางค์ จำนวน 336 แผง ถนนราชินี จำนวน 253 แผง และตรอกสาเก ตรอกเสถียร จำนวน 87 แผง รวมทั้งหมด 676 แผง ส่วนผู้ที่เร่ร่อนได้ประสานไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ในการเข้าไปดูแล และให้การช่วยเหลือต่อไป

กทม. สรุปผลการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง


(28 มิ.ย. 53) ณ ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) : นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 17/2553 ซึ่งมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เมื่อช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว ซึ่งจากการเปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบมาลงทะเบียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง ณ สำนักงานเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและการชุมนุมทางการเมือง ทั้ง 7 เขต ปรากฏว่ามีผู้มาลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 61,746 ราย แบ่งเป็น เขตปทุมวัน 42,027 ราย เขตราชเทวี 9,536 ราย เขตบางรัก 6,411 ราย เขตคลองเตย 2,087 ราย เขตสาทร 653 ราย เขตวัฒนา 637 ราย และเขตดินแดง 395 ราย

รองโฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในเบื้องต้นกรุงเทพมหานครได้ส่งคำร้องให้คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการ รายละ 50,000 บาท ตามงบประมาณของรัฐบาล โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 2,009 ราย แบ่งจ่ายเป็น 5 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2-20 มิ.ย. 53 และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ อีก 1,071 ราย

กองทุนรวมกัน เราทำได้ ยอดบริจาครวม 13 ล้านบาท เร่งสรรหาคณะกรรมการดูแลกองทุน

ทั้งนี้กรุงเทพมหานครทำหน้าที่ในการรับลงทะเบียนผู้ประสบภัยและคัดกรองข้อมูลเบื้องต้น เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลดำเนินการให้ความช่วยเหลือผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นพบปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน และมีผู้ปลอมแปลงเอกสารมาลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ จึงได้มีการให้ผู้รับผลกระทบแจ้งความ ณ สน.พื้นที่ ก่อนมาลงทะเบียนรับความช่วยเหลือ ซึ่งหากตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจริงจะถูกดำเนินคดีฐานแจ้งความเท็จต่อไป สำหรับกองทุน Together We Can รวมกัน เราทำได้ ขณะนี้มียอดเงินบริจาครวม 13 ล้านบาท อยู่ระหว่างการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการจากบุคคลภายนอกเข้าทำหน้าที่กำหนดแนวทางการใช้จ่ายเงิน

ขยายเวลารับเงินช่วยเหลือจากเหตุเพลิงไหม้ถึง 13 ก.ค.นี้

พร้อมกันนี้กรุงเทพมหานคร โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ตั้งแต่วันที่ 3-24 มิ.ย. 53 รายละ 10,000 บาท จำนวน 992 ครอบครัว รวมวงเงินช่วยเหลือ 9,706,934 บาท และขยายเวลาให้ผู้ประกอบการ ที่ยังไม่ได้ติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือสามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้ถึงวันที่ 13 ก.ค. 53 นี้

จัดพื้นที่ขายสินค้าสำหรับผู้ค้ารายย่อย และหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ

รองโฆษกกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือด้านพื้นที่ค้าขาย ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดหาพื้นที่ขายสินค้าสำหรับผู้ค้ารายย่อย จำนวน 5แห่ง ได้แก่ อาคารซิตี้คอมเพล็กซ์ เมโทรแฟชั่นมอลล์ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า จตุจักรสแควร์และจตุจักรเซ็น กรุงทองพลาซ่า และร่วมกับสำนักงานเขตบางรักจัดงานงานถนนคนเดิน Together We Can : Grand Sale @ สีลม เมื่อวันที่ 12-13 มิ.ย. 53 ผู้ได้รับสิทธิ์ออกร้าน จำนวน 1,541 ร้าน มีเงินสะพัดกว่า 120 ล้านบาท และในพื้นที่ของสำนักงานเขตราชเทวี จัดงาน Together We Can : Grand Sale @ รางน้ำ เมื่อวันที่ 19-20 มิ.ย. 53 ผู้ได้รับสิทธิ์ออกร้าน จำนวน 700 ร้าน มีเงินสะพัด 70ล้านบาท

นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังจัดโครงการ Together We Can “ยิ้มสู้...กู้สร้างอาชีพ 2” ซึ่งดำเนินการร่วมกับธนาคารออมสิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตกรุงเทพมหานคร โดยขยายวงเงินกู้จาก 1 แสน เป็น 2 แสนบาท และให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย

ขอรับใบเหลืองและใบชมพูแทบบัตร Smart Card ชั่วคราว


นายยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดปัญหาขาดแคลนวัสดุจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนทั้งกรณีขอทำบัตรใหม่ ขอเปลี่ยนบัตร รวมถึงให้การใช้ใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป.2 หรือ ใบเหลือง) หรือใบแทนใบรับคำของมีบัตร (บ.ป. 2 ก หรือใบชมพู) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักทะเบียนทั่วประเทศ จะออกใบรับหรือใบแทนใบรับดังกล่าวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่พิมพ์รูปถ่ายของผู้ถือบัตรพร้อมแล้ว โดยไม่ต้องนำรูปถ่ายมาให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองให้แก่ประชาชนเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงตนได้ตามกฎหมายจนกว่าจะได้รับบัตร Smart Card

ทั้งนี้ใบรับหรือใบแทนใบรับบัตรประจำตัวประชาชนสามารถใช้ได้ตามกฎหมายโดยให้ใช้ร่วมกับบัตรเดิม ยกเว้นกรณีขอมีบัตรครั้งแรก บัตรหาย และบัตรถูกทำลายทั้งหมด ซึ่งผู้ขอมีบัตรต้องนำใบรับหรือใบแทนใบรับไปรับบัตร Smart Card ด้วยตนเองตั้งแต่วันเดือนปีที่ที่กำหนดไว้ในใบรับหรือใบแทนใบรับ ณ สำนักทะเบียนที่ขอทำบัตร

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ประชาชนขอมีใบรับ (บ.ป. 2 หรือ ใบเหลือง) หรือใบแทนใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. 2 ก หรือใบชมพู) แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร โทร. 1548 หรือที่เว็บไซต์http://www.dopa.go.th

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รับรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่ 12 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น

รถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนแรกจาก 12 ขบวนใหม่มูลค่า 2,300 ล้านบาท จากจีนมาถึงแล้ว ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ นำทัพผู้บริหารและสื่อมวลชนไปรับที่แหลมฉบัง ภายในสิ้นเดือนนี้มาครบ เป็นรถไฟฟ้าที่ยาวขึ้นเป็น 4 ขบวน เดิมเพียง 3 ขบวน รวมทั้งหมด 48 ตู้ นำไปวิ่งสายสีลมลดปัญหาผู้โดยสารตกค้างในส่วนต่อขยาย ส่วนของเดิมนำไปวิ่งสายสุขุมวิทเพิ่มความถี่ลดความหนาแน่นผู้โดยสารชั่วโมงเร่งด่วน

25 มิ.ย. 53 ณ ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีรับมอบรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่ จำนวน 12 ขบวน โดยมีนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ฯพณฯ กวน มู่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คณะผู้บริหารกทม. ผู้บริหารบีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมพิธี

รถไฟฟ้าขบวนใหม่ได้นำมาจากเมืองท่าต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 53 โดยขบวนแรกถึงท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 19มิ.ย. 53 และจะทยอยส่งทั้ง 12 ขบวน ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยบริษัทบีทีเอสซีได้สั่งซื้อขบวนรถทั้งหมดจากบริษัท ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 ขบวน ความยาวขบวนละ 4 ตู้ รวม 48 ตู้ มูลค่ากว่า 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และใช้เพื่อรองรับส่วนต่อขยายสายสีลม ที่เปิดให้บริการไปเมื่อ 15 พ.ค. 52 ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากรวมแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีรถให้บริการทั้งสิ้น 47 ขบวน จำนวน 153 ตู้ จากปัจจุบันมี 35 ขบวน จำนวน 105 ตู้

รถไฟฟ้าขบวนใหม่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ขบวนละ 1,490 คน จากเดิมได้เพียง 1,106 คน เนื่องจากความยาวที่เพิ่มขึ้น จาก 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ ทั้งนี้หลังได้รับรถไฟฟ้าขบวนใหม่มาแล้วจะต้องวิ่งทดสอบเป็นเวลา 4-6 เดือน ก่อนจะนำออกให้บริการ เพื่อความมั่นใจในระบบและความปลอดภัย โดยภายหลังการทดสอบแล้วจะนำรถไฟฟ้าขบวนใหม่ทั้ง 12 ขบวน วิ่งให้บริการในสายสีลม ส่วน 35 ขบวนที่มีอยู่เดิมนั้นจะนำไปให้บริการในสายสุขุมวิท ซึ่งเชื่อว่าการเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้าในครั้งนี้จะรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้สาเหตุที่นำรถไฟฟ้าใหม่แบบ 4 ตู้ต่อขบวนมาใช้ในสายสีลม เนื่องจากจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคอขวดของสถานีสะพานตากสิที่มีรางคู่เดียว ทำให้ขบวนรถจุผู้โดยสารได้มากขึ้น ไม่เกิดปัญหาผู้โดยสารตกค้างในสถานี ในขณะที่สายสุขุมวิทก็จะมีรถไฟฟ้าให้บริการมากขึ้น เพิ่มความถี่ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ผู้โดยสารก็จะไม่หนาแน่นมาก และได้รับความสะดวกมากขึ้น

----------------------------

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รับรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่ 12 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น

รถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนแรกจาก 12 ขบวนใหม่มูลค่า 2,300 ล้านบาท จากจีนมาถึงแล้ว ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ นำทัพผู้บริหารและสื่อมวลชนไปรับที่แหลมฉบัง ภายในสิ้นเดือนนี้มาครบ เป็นรถไฟฟ้าที่ยาวขึ้นเป็น 4 ขบวน เดิมเพียง 3 ขบวน รวมทั้งหมด 48 ตู้ นำไปวิ่งสายสีลมลดปัญหาผู้โดยสารตกค้างในส่วนต่อขยาย ส่วนของเดิมนำไปวิ่งสายสุขุมวิทเพิ่มความถี่ลดความหนาแน่นผู้โดยสารชั่วโมงเร่งด่วน

25 มิ.ย. 53 ณ ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีรับมอบรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่ จำนวน 12 ขบวน โดยมีนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ฯพณฯ กวน มู่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คณะผู้บริหารกทม. ผู้บริหารบีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมพิธี

รถไฟฟ้าขบวนใหม่ได้นำมาจากเมืองท่าต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 53 โดยขบวนแรกถึงท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 53 และจะทยอยส่งทั้ง 12 ขบวน ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยบริษัทบีทีเอสซีได้สั่งซื้อขบวนรถทั้งหมดจากบริษัท ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 ขบวน ความยาวขบวนละ 4 ตู้ รวม 48 ตู้ มูลค่ากว่า 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และใช้เพื่อรองรับส่วนต่อขยายสายสีลม ที่เปิดให้บริการไปเมื่อ 15 พ.ค. 52 ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากรวมแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีรถให้บริการทั้งสิ้น 47 ขบวน จำนวน 153 ตู้ จากปัจจุบันมี 35 ขบวน จำนวน 105 ตู้

รถไฟฟ้าขบวนใหม่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ขบวนละ 1,490 คน จากเดิมได้เพียง 1,106 คน เนื่องจากความยาวที่เพิ่มขึ้น จาก 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ ทั้งนี้หลังได้รับรถไฟฟ้าขบวนใหม่มาแล้วจะต้องวิ่งทดสอบเป็นเวลา 4-6 เดือน ก่อนจะนำออกให้บริการ เพื่อความมั่นใจในระบบและความปลอดภัย โดยภายหลังการทดสอบแล้วจะนำรถไฟฟ้าขบวนใหม่ทั้ง 12 ขบวน วิ่งให้บริการในสายสีลม ส่วน 35 ขบวนที่มีอยู่เดิมนั้นจะนำไปให้บริการในสายสุขุมวิท ซึ่งเชื่อว่าการเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้าในครั้งนี้จะรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้สาเหตุที่นำรถไฟฟ้าใหม่แบบ 4 ตู้ต่อขบวนมาใช้ในสายสีลม เนื่องจากจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคอขวดของสถานีสะพานตากสินที่มีรางคู่เดียว ทำให้ขบวนรถจุผู้โดยสารได้มากขึ้น ไม่เกิดปัญหาผู้โดยสารตกค้างในสถานี ในขณะที่สายสุขุมวิทก็จะมีรถไฟฟ้าให้บริการมากขึ้น เพิ่มความถี่ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ผู้โดยสารก็จะไม่หนาแน่นมาก และได้รับความสะดวกมากขึ้น ----------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สภากทม. กระตุ้นสำนักงานเขตจัดเก็บภาษีป้ายนำเงินเข้ากทม.

คกก.พิจารณางบประมาณปี 54 กระตุ้นสำนักงานเขตดำเนินการป้ายผิดกฎหมายจริงจัง พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษีป้ายโฆษณา เพื่อนำรายได้เข้ากทม. ทั้งกำหนดจุดผ่อนผันผู้ค้าให้ชัดเจน

(23 มิ.ย. 53) นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักงานเขตทวีวัฒนา คลองสาน ตลิ่งชัน หนองแขม บางแค บางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ธนบุรี และเขตภาษีเจริญ โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานคร

สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในที่ประชุมไม่มีการเสนอขอตัดรายการที่สำนักงานเขตเสนอขอมาแต่อย่างใด มีเพียงบางสำนักงานเขตซึ่งคณะกรรมการได้ขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อทำการพิจารณา ทั้งนี้คณะกรรมการยังได้ตั้งข้อสังเกตสำนักงานเขตถึงการดำเนินการจัดเก็บรายได้ภาษีป้ายและรื้อถอนป้ายผิดกฎหมาย โดยพบว่าการจัดเก็บภาษีและดำเนินคดีป้ายโฆษณาต่างๆ ยังไม่มีความจริงจัง ซึ่งการจัดเก็บภาษีป้ายถือเป็นเรื่องสำคัญที่กรุงเทพมหานครจะต้องใช้กฎหมายเร่งรัดดำเนินการโดยเร็ว พร้อมกันนี้ควรกำหนดจุดผ่อนผันผู้ค้าบนทางเท้าให้มีความชัดเจนและกำชับให้เจ้าหน้าที่เทศกิจควบคุมดูแลผู้ค้าให้วางร้านค้าและหาบเร่แผงลอยให้มีระเบียบและ มีความสะอาดถูกหลักอนามัย โดยยึด พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ศ. 2535 ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะต้องเข้มงวดเพื่อให้ผู้ค้ามีความรับผิดชอบในพื้นที่ของตน
----------------------------

กทม. เดินหน้าสร้างเด็กไทยยุคใหม่ไร้พุง สุขภาพดีมีรูปร่างสมส่วน

ติวเข้มบุคลากรในสังกัดสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แก้ปัญหาโรคอ้วนและภาวะโภชนาการแก่เด็กนักเรียนสังกัด กทม. หลังจับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน วางแนวทางดำเนินการ

(24 มิ.ย. 53) นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเด็กไทยไร้พุง โดยมีผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักโภชนาการ และเจ้าหน้าที่เทศกิจ รวม 500 คน เข้ารับการอบรม ณ โรงแรมแม็กซ์ เขตห้วยขวาง ซึ่งสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สามารถวางแผน และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรการอบรม ประกอบด้วย การบรรยายหัวข้อ แนวทางการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย รศ.ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การอภิปรายหัวข้อ “การระดมพลังให้เกิดการมีส่วนร่วมสู่ความยั่งยืน” โดยวิทยากรจาก สำนักอนามัย สำนักเทศกิจ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และกิจกรรมการบรรยายและแบ่งกลุ่มหัวข้อ “วางแผนแนวทางการจัดกิจกรรมโครงการเด็กไทยไร้พุงในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร”

สำหรับกิจกรรมตามโครงการเด็กไทยไร้พุง กำหนดจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมผู้บริหารโรงเรียน ครู ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเด็กไทยไร้พุง โดยมีผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักโภชนาการ และเจ้าหน้าที่เทศกิจ รวม 500 คน ระยะที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครูแกนนำผู้ดำเนินโครงการเด็กไทยไร้พุงในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 435 แห่งๆ ละ 1 คน ระยะที่ 3 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินงานด้านโภชนาการแก่ครูโภชนาการของโรงเรียน 435 แห่งๆ ละ 1 คน และกิจกรรมที่ 2 การจัดทำหนังสือ เอกสารเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ หนังสือ “แนวทางการดำเนินการโครงการเด็กไทยไร้พุง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร” หนังสือ “บทความโภชนาการ” หนังสือ “กินอย่างไรให้สุขภาพดี” หนังสือ “บทความโภชนาการ” สมุดบันทึกประจำตัวนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ระเบียนสะสม (ปพ.8)

นางทยา กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีนโยบายในการดูแลสุขภาพร่างกายประชาชนให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะเด็ก นักเรียนในสังกัด ซึ่งปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและโรคอ้วนเป็นจำนวนมาก สาเหตุจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่เปลี่ยนไปส่งผลให้เด็กเป็นโรคอ้วนและประสบปัญหาด้านโภชนาการ นอกจากนี้ นิสัยการกินที่เปลี่ยนไปยังส่งผลให้เด็กเป็นโรคอื่นร่วมด้วย อาทิ โรคฟันผุ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการเด็กไทยไร้พุงขึ้นเพื่อควบคุมและแก้ปัญหาดังกล่าว โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน หาแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะโภชนาการ มุ่งสร้างเสริมให้เด็กนักเรียนในสังกัดกลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย รูปร่างสมส่วน ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะตามมาจากโรคอ้วนและภาวะโภชนาการ พร้อมทั้งเป็นต้นแบบเด็กสุขภาพดีแก่เด็กและเยาวชนไทยต่อไป
----------------------------

ข้อบัญญัติช้างเร่ร่อนบังคับใช้แล้ว เตรียมจัดคอนเสิร์ตระดมทุนช่วยช้าง “ช้างติดมันส์” เร็วๆนี้

หลังโครงการช้างยิ้มดำเนินมาได้ปีกว่า เห็นผลน่าพอใจ พบช้างหารายได้ในกรุงเทพลดลงชัดเจน โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา และเตรียมชมคอนเสิร์ต “ช้างติดมันส์” โดยชมพูฟรุ๊ตตี้ในเร็ววันนี้
ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า ภายหลังกทม. ดำเนินโครงการช้างยิ้ม มาตั้งแต่ 13 มี.ค. 52 ซึ่งเป็นวันช้างไทย ได้แก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและเข้มงวด ทำให้ปริมาณช้างเร่ร่อนที่มาหารายได้ในเขตกรุงเทพฯ ลดลง แต่เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานครจะร่วมกับหลายหน่วยงานสร้างงานให้ช้างและควาญช้างอย่างยั่งยืนตามสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริง เช่น การให้การสนับสนุนโครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์

ทั้งนี้หลังจากที่สภากทม. ได้เห็นชอบร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และได้ลงนามโดยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เมื่อวันที่17 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดได้มีการประกาศข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งผู้เจ้าของช้าง อันหมายถึงผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมดูแลช้างที่นำช้างเข้ามาเร่ร่อนเพื่อหารายได้ในพื้นที่กรุงเทพฯจะได้รับโทษสูงสุดคือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือแม้แต่หากผู้ใดให้ใช้สถานที่ไม่ว่าจะยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ที่ดินของตนเป็นที่พักช้าง รวมถึงผู้ที่ให้การสนับสนุนด้วยการซื้ออาหารให้ช้างก็จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้นจึงขอเตือนไปยังเจ้าของช้าง รวมถึงประชาชนทุกท่านให้ปฏิบัติตามกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัดเพราะกทม.จะดำเนินการจับกุมอย่างจริงจัง

ด้าน นายมานิต เตชอภิโชค รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. กล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ กรุงเทพมหานครได้รับการประสานจาก บ.อัศวินโต๊ะกลม จำกัด โดยคุณสุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพูฟรุ๊ตตี้) จะจัดคอนเสิร์ต “ช้างติดมันส์” เพื่อระดมทุนช่วยเหลือช้าง ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดงานให้ทราบในงานแถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินโครงการช้างยิ้มในวันที่ 2 ก.ค. 53 เวลา 10.00 น. ณ ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) ----------------------------

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำนักวัฒนธรรม กีฬา แล ะการท่องเที่ยว กทม




นายสมศักดิ์ จันทวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครเชิญชวนเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปใช้เวลาว่าง สมัครเรียนกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐานหลักสูตร 3 เดือน โดยไม่เสียค่าผู้ฝึกสอนที่ศูนย์ เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) ซึ่งมีกีฬาและนันทนาการให้เลือกเรียนกว่า 30 ประเภท เช่น เทควันโด ยูโด ไอกิโด เคนโด คาราเต้ โยคะ ลีลาศ ยกน้ำหนัก ดนตรีไทย – สากล นาฏศิลป์ไทย – สากล แบดมินตัน ว่ายน้ำ เทนนิส ศิลปะ ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ฯลฯ เปิดสอนตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ กำหนดวันลงชื่อเรียนพร้อมปฐมนิเทศเพื่อแบ่งกลุ่มเรียนกิจกรรมทุกประเภท ในวันที่ 27 มิ.ย. 53 เวลา 14.00 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชน
กรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง

ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกศูนย์ฯ ล่วงหน้าก่อนวันปฐมนิเทศ โดยยื่นหลักฐานดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี) และใบรับรองแพทย์ในกรณีต้องการว่ายน้ำ ค่าสมัครสมาชิก อายุ 5 – 18 ปี ค่าสมัคร 10 บาท/ปี ผู้สมัคร อายุ 19 – 24 ปี ค่าสมัคร 20 บาท/ปี และผู้สมัคร อายุ 25 ปีขึ้นไปค่าสมัคร 40 บาท/ปี สมัครเป็นสมาชิกได้ทุกวันจันทร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. วันอังคาร – เสาร์ เวลา 10.00 – 20.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 13.00 – 20.00 น. สอบถามรายละเอียดการจัดกิจกรรม และการรับสมัครได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2245 4743 – 7 ต่อ 32 หรือ 23 หรือที่ www.bangkok.go.th/thai-japan

เพิ่มโรงรับจำนำกทม.ให้เพียงพอ

คกก. พิจารณางบปี 54 เสนอแนะเพิ่มโรงรับจำนำกทม. ให้เพียงพอต่อความต้องการประชาชน พร้อมพิจารณาค่าตอบแทนต้องเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งปรับปรุงสถานที่ให้ทันสมัย

(22 มิ.ย. 53) นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานคร

ในที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ตั้งข้อสังเกตการให้บริการของสำนักงานสถานธนานุบาล กทม. ในปัจจุบันที่มีอยู่จำนวน 20 สาขา ควรเร่งเพิ่มสาขาให้ครบ 50 เขต ให้เพียงพอกับความต้องการกับประชาชน เนื่องจากโรงรับจำกรุงเทพมหานครมีอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นที่นิยมของผู้มาใช้บริการ ส่วนเรื่องบริหารภายในเฉพาะลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท ควรพิจารณาค่าตอบแทนให้เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งต้องโยกย้ายหรือสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระหว่างสาขาเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการปรับปรุงสถานที่ต้องให้มีความเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของโรงรับจำนำ โดยเน้นการปรับปรุงภายในสถานที่ให้ทันสมัย

สภากทม. เสนอสร้างโรงเรียน Hero ผลิตนักดับเพลิงคุณภาพ

พิจารณางบปี 54 เสนอสร้างโรงเรียน Hero ผลิตนักดับเพลิงที่มีคุณภาพ ทั้งเพิ่มหลักสูตรให้เด็กเรียนรู้หากเกิดภัยพิบัติ ส่วนผู้รับเหมาทิ้งงาน ต้องขึ้นบัญชี Black List

(22 มิ.ย. 53) นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานคร

เสนอสร้างโรงเรียน Hero ผลิตนักดับเพลิงที่มีคุณภาพ จี้เพิ่มหลักสูตรให้เด็กเรียนรู้หากเกิดภัยพิบัติ

ทั้งนี้คณะกรรมการเสนอให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พิจารณาเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอน การป้องกันตนเองหากมีเหตุเพลิงไหม้และภัยพิบัติต่างๆ เพื่อให้รู้เท่าทันและเป็นการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ให้แก่เยาวชน ทั้งควรเร่งหารือถึงแนวทางในการสร้างโรงเรียนผลิตนักดับเพลิงให้มีคุณภาพ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในต่างประเทศบุคลากรเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นHeroของประชาชน รวมทั้งควรให้ความสำคัญในการเสนอของบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้เพียงพอ และควรจำหน่ายอุปกรณ์และพาหนะที่มีสภาพเสื่อมโทรมจากการใช้งานควรจำหน่ายออกไป นอกจากนี้ควรพิจารณาหาช่องทางในการนำรถดับเพลิงจำนวน 315 คัน เรือดับเพลิง 30 ลำ ที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาคดีนำมาใช้งานอีกด้วย

แนะ Black List ผู้รับเหมาทำงานชุ่ย

สำหรับข้อสังเกตสำนักการโยธามีการดำเนินการล่าช้าหลายโครงการ ควรจัดทำบัญชี Black List เพื่อลงโทษบริษัทที่ทำให้กทม. เสียหาย ไม่ให้เข้าร่วมในการประมูลอีก ทั้งควรว่าจ้างบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ และเป็นมืออาชีพเพื่อช่วยควบคุมการก่อสร้างให้ดำเนินงานให้อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการรองรับกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนในภาพรวม

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เปิดตัวหลักสูตร “โตไปไม่โกง” สร้างค่านิยมต้านคอร์รัปชั่น

กทม. สร้างหลักสูตรใหม่กระตุ้นเด็กกทม. สร้างภูมิคุ้มกันตนเอง ให้ห่างไกลจากความไม่ถูกต้องและการคอร์รัปชั่น นำร่องเบื้องต้น รร.กทม. 228 แห่ง ตั้งแต่อนุบาล - ป.3

(22 มิ.ย. 53) เวลา 15.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการโรงเรียนสีขาวหลักสูตร “โตไปไม่โกง” (Anti-Corruption) โดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ร่วมแถลง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จัดโครงการโรงเรียนสีขาว “หลักสูตร โตไปไม่โกง” (Anti Corruption) ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างค่านิยมและปลูกจิตสำนึก ที่ถูกต้องให้แก่เยาวชน ในการร่วมกันต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยให้เด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตได้ซึมซับวิธีคิดและวิธีดำรงชีวิตทั้งจากบทเรียน กิจกรรมในโรงเรียน การอบรมสั่งสอนของครู และการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เพื่อเป็นการวางรากฐานเกี่ยวกับความถูกต้องและความเป็นธรรมในมิติต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยในเบื้องต้นจะจัดให้มีการอบรมครูผู้สอนจำนวน 10 รุ่น และเริ่มทำการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 228 แห่ง ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 3 ในเดือน ส.ค. นี้

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การผลักดันให้เกิดหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีงามนั้น ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือและการบูรณาการจากทุกภาคส่วน รวมทั้งศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม การใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การออกแบบหลักสูตร การจัดกิจกรรมและการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัยร่วมกัน เพื่อเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างการตระหนักรู้ความเข้าใจ และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองและเป็นแรงผลักดันให้เด็ก แต่ละคนรู้สึกต่อต้าน และกล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โดยนึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก อันจะส่งผล ที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนในที่สุด

หลายฝ่ายถกจัดที่จอดรถในอาคารสวนทางการ ส่งเสริมประชาชนใช้ขนส่งมวลชน

กทม.ร่วมหน่วยงานด้านโยธา ผังเมือง และอสังหาริมทรัพย์ เสวนากรณีที่จอดรถในอาคาร โดยเฉพาะในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า หลังตั้งข้อสังเกตุทำไมต้องจัดให้มีที่จอดรถทั้งที่ กทม.และรัฐบาลส่งเสริมให้ใช้รถขนส่งมวลชน
22 มิ.ย. 53 นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดงานเสวนา เรื่อง “นโยบายที่จอดรถในเมือง” ครั้งที่ 1 “จำเป็นด้วยหรือ? สำหรับที่จอดรถในอาคารก่อสร้างใหม่บริเวณเส้นทางระบบขนส่งมวลชน” ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง โดยมีผู้แทนหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร อาทิ สำนักการโยธา สำนักผังเมือง หน่วยงานภายนอก เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย ตัวแทนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ร่วมเสวนา
การเสวนา เรื่อง “นโยบายที่จอดรถในเมือง” ครั้งที่ 1 “จำเป็นด้วยหรือ? สำหรับที่จอดรถในอาคารก่อสร้างใหม่บริเวณเส้นทางระบบขนส่งมวลชน” เป็นการเสวนาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจร โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนทุกระบบ ซึ่งปัญหาที่จอดรถที่ต้องดำเนินตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2535 ของกรุงเทพมหานคร อาจทำให้ผู้ประกอบการมีข้อสังเกตถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีที่จอดรถในอาคาร โดยเฉพาะในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เนื่องจากกรุงเทพมหานครและรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน หากกำหนดให้จัดที่จอดรถยนต์ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถยนต์มากขึ้น
ทั้งนี้การเสวนาจะสะท้อนมุมมองของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงผังเมืองรวมที่ต้องปรับทุก 5 ปี และเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในเรื่องของการนำไปแก้ไขข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ

กทม. ห่วงใยเตือนประชาชนระวังภัย 10 โรคใกล้ตัวหน้าฝน

นายวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังได้ หากประชาชน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุดูแลรักษาสุขภาพของตนไม่ถูกต้อง อาจทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ อาทิ โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางระบบผิวหนัง โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก

โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร
โรคติดต่อทางน้ำและทางอาหารโดยเฉพาะในช่วงที่มีน้ำท่วม เช่น โรคท้องเดินหรือโรคอุจจาระร่วง โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเมื่อเป็นโรคปอดบวมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ระวังอันตรายโรคฉี่หนู
โรคเลปโตสไปโรซิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ สัตว์ป่าและสัตว์ฟันแทะที่เป็นสัตว์รังโรค โดยเชื้อปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง เมื่อคนเดินย่ำน้ำหรือเล่นน้ำนานๆ เชื้อก่อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เปื่อยยุ่ย บาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุในช่องปาก และอาจติดเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนฉี่หนู หากติดเชื้อและทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเสียชีวิตได้

ยุงหลากชนิดนำพิษโรคร้าย
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อกัดและแสดงอาการต้องสงสัยติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้องทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัว มียุงก้นปล่องที่มีแหล่งอาศัยในป่าตามแนวชายแดนของประเทศเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงนำเชื้อกัดประมาณ 15–30 วันจะมีอากาศป่วย ต้องรีบพบแพทย์ตรวจและรักษาโดยเร็ว หากทิ้งไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำทุ่งนา ซึ่งยุงรำคาญได้รับเชื้อจากการกินเลือดสัตว์ เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต บางรายหายป่วยเกิดความพิการทางสมอง สติปัญญาเสื่อม หรือเป็นอัมพาตได้

หมั่นรักษาความสะอาดและหลีกเลี่ยงน้ำสกปรก
โรคเยื่อตาอักเสบ หรือตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้ออยู่ในน้ำตาและขี้ตา ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน การใช้น้ำไม่สะอาดล้างหน้า อาบน้ำ ถูกน้ำสกปรกที่มีเชื้อโรคกระเด็นเข้าตา หรือการใช้มือ แขน และเสื้อผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อรา สาเหตุมาจากการทำงานที่ต้องลุยอยู่ในน้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลม คัน หากเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองเยิ้ม

สังเกตบริเวณบ้าน งดทานเห็ดพิษ
อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง หนีมาหลบอาศัยในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำท่วมขัง และโรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษทุกปี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – พ.ย. ด้วยการรับประทานเห็ดที่ขึ้นเองในป่า สวน ไร่ หรือเห็ดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนมากพบในภาพเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอให้ประชาชนระมัดระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพียงล้างมือฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หลังจากเดินย่ำน้ำให้ล้างมือล้างเท้าทุกครั้ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและระวังอย่าให้ยุงกัด อย่าใช้มือ แขน และผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา ระวังไม่ให้น้ำสกปรกเข้าตา เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง หากมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มเป็น ก่อนที่อาการจะลุกลาม

กทม. ปลูกจิตสำนึกประชาชนแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

แนะกทม. ใช้งบ 54 เพิ่มพื้นที่สีเขียวลดโลกร้อน
คกก. พิจารณางบปี 54 เสนอแนะหน่วยงานเร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียว ร่วมมือคัดแยกขยะ ปลูกจิตสำนึกประชาชนแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตรอบนอก กำหนดแผนแก้ไขน้ำท่วมระยะยาว ควบคู่ไปกับการ ฟื้นฟูแม่น้ำและอนุรักษ์ คู คลอง เดินหน้าสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น
(21 มิ.ย. 53) นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานครเร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกจิตสำนึกประชาชนแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

ในที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ตั้งข้อสังเกตหลายประการของสำนักสิ่งแวดล้อม เช่น ควรจัดสรรงบประมาณในจัดหาพื้นที่เพื่อก่อสร้างสวนสาธารณะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กรุงเทพมหานคร จัดหาพื้นที่ว่างทั้งของรัฐและเอกชน โดยเน้นการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ รวมถึงการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการปลูกต้นไม้ เพื่อประหยัดงบประมาณ และรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก รวมทั้งจิตสำนึกให้รับรู้ถึงความสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นคัดเลือกว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีความชำนาญและรอบรู้

นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังเสนอให้มีความรอบคอบในการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อมาดำเนินงานในโครงการต่างๆ ให้เหมาะสมและคัดเลือกบริษัทที่มีความชำนาญในโครงการนั้นจริงเพื่อประสิทธิผลในโครงการ และเป็นการไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งโครงการต่างๆ ที่มีการจัดกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ควรมีความรัดกุมในการใช้งบประมาณ หากไม่จำเป็นก็ควรตัดโครงการออกไป เพื่อนำงบประมาณไปสนับสนุนการดำเนินงานในด้านอื่นให้เกิดประโยชน์ต่อไป

แนะสำนักการระบายน้ำวางนโยบายให้ชัดเจน พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเขตรอบนอก

ทั้งการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของของสำนักการระบายน้ำ ควรพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนหลังในการดำเนินการ เพราะการแก้ปัญหาต้องมีแนวทางที่ชัดเจนและจริงจัง รวมถึงการแก้ไขพื้นที่เขตรอบนอกจะต้องวางระบบระบายน้ำให้เหมาะสมเพื่อป้องกันความเดือดร้อนในช่วงฤดูฝน ทั้งการบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำจะต้องรักษามาตรฐานและครอบคลุมพื้นที่เพื่อความสะอาดของแม่น้ำ คู คลอง ทั้งการวางระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว มีหลายพื้นที่ยังต้องรอคอยการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อีกทั้งการของบประมาณดำเนินโครงการจะต้องเป็นประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำนักระบายน้ำถือเป็นหัวใจสำคัญของกรุงเทพมหานครในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งนี้เงินงบประมาณนั้นเป็นภาษีของประชาชนควรนำไปใช้จ่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุดกำหนดแผนแก้ไขน้ำท่วมระยะยาว ควบคู่ไปกับการ ฟื้นฟูแม่น้ำและอนุรักษ์ คู คลอง

ทั้งเสนอแนะผู้บริหารควรประชุมในการวางแผนนโยบายระยะยาวเพื่อการพัฒนาในอนาคต ฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา คู คลอง วางระบบระบายน้ำให้สามารถใช้งานได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งควรทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงมาตรการที่กรุงเทพมหานครดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ความรู้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และชุมชน ในเรื่องของปัญหามลพิษทางน้ำ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย เป็นการกระตุ้นให้ชาวกรุงเทพมหานครทุกคนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของแหล่งน้ำ ตลอดทั้งให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ตามนโยบายในการทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ----------------------------

สภากทม. แนะเสริมวิชาชีพให้ผู้ด้อยการศึกษา

คกก. พิจารณางบประมาณรายจ่าย ปี 54 แนะส่งเสริมฝึกวิชาชีพให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา พร้อมสร้างห้องน้ำผู้พิการให้เพียงพอภายในหน่วยงานกทม. รวมนี้ควรวางแผนในการทำงานให้เกิfประสิทธิภาพ

นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานครแนะเสริมฝึกวิชาชีพให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา พร้อมสร้างห้องน้ำผู้พิการให้เพียงพอภายในหน่วยงานกทม.
ที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ตั้งข้อสังเกตหลายประการ เช่น การดำเนินงานของสำนักพัฒนาสังคม พบว่าประชาชนผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพประชาชนบางส่วนไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพ เพราะยังขาดตลาดรองรับและอาชีพที่เรียนไปยังไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งต้องพิจารณาในการแนะนำและส่งเสริมในวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการ ทั้งควรเพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมวิชาชีพให้กับประชาชน โดยการฝึกอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ทั้งควรเพิ่มงบประมาณเพื่อฝึกวิชาชีพเสริมทักษะให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา 5-6 เพื่อเป็นทางเลือกหากเด็กนักเรียนไปประกอบอาชีพแทนการเรียนต่อ นอกจากนี้ควรดำเนินสำรวจและส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและผู้พิการ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงสถานที่และอำนวยความสะดวก อาทิ ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณเสียงพูดบอกผู้พิการเข้าออกเวลาใช้บริการและติดตั้งอักษรเบลภายในลิฟต์โดยสาร ภายในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ทั้งการก่อสร้างห้องน้ำเพื่อคนพิการ พบว่ายังไม่มีเพียงพอซึ่งควรคำนึงถึงด้วยเสนอขอเงินส่งเสริมให้คนออกกำลังกาย เพื่อแก้ปัญหาต้นเหตุ
ทั้งในส่วนนโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย ควรให้ความสำคัญจัดสรรงบประมาณในกิจกรรมกีฬาต่างๆ ให้กับประชาชนได้สามารถออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพโดยตรง ลดภาระด้านงบประมาณในการรักษาสุขภาพที่กรุงเทพมหานครต้องแบกภาระในการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่คุ้มกับค่าดูแลรักษา จากการพิจารณาของคณะกรรมการ ตั้งข้อสังเกตว่า การของบประมาณในด้านการส่งสริมการออกกำลังกาย ควรให้ความสำคัญมากเพราะอยู่ในแผนแม่บทในการพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานครกันอย่างกว้างขวาง พร้อมมอบหมาย ให้ทางหน่วยงานที่ได้รับการพิจารณานำเอกสารเพิ่มเติมมายื่นให้ทางคณะกรรมการฯ เพื่อการพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไป